Soldier In The Army With Sniper Rifle

Thursday, January 22, 2015

เริ่มต้นสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา

          ผลที่ตามมาจากสงครามเจ็ดปีนั้นนอกจากจะทิ้งความสูญเสียไว้มากมายทั้งทางด้านประชาชน การเงิน กำลังทหารและกองทัพแล้ว สงครามเจ็ดปีนั้นยังคงทิ้งความขัดแย้งไว้ในพื้นที่ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เป็นต้นเรื่องอย่างอังกฤษ ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย หรือประเทศอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส อย่างสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ก็ได้รับผลกระทบมาเช่นกัน
         
          ในตอนแรกก่อนที่จะถูกค้นพบนั้น อเมริกามีชนเผ่าดั้งเดิมคืออินเดียนแดง มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชพรรณนานาชนิด ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า ทองคำ 


แหล่งทรัพยากรต่างๆในอเมริกา
          แต่ในปีค.ศ.1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินเรือและค้นพบทวีปอเมริกาโดยบังเอิญ ทำให้บรรดาประเทศนักล่าอาณานิคมในยุโรปอย่างสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ เริ่มทยอยเข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองดั้งเดิม และเข่นฆ่าพวกเขาเพื่อยึดดินแดน สเปนและโปรตุเกสไปปักธงที่ทางอเมริกาใต้ ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องทำการแย่งชิงพื้นทางเหนือแทน ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นอีกชนวนเหตุของสงครามเจ็ดปี 
          ชาวอังกฤษเริ่มทยอยอพยพไปสร้างอาณานิคมในอเมริกาเหนือตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 คนส่วนมากที่อพยพไปก็คือพวกชนชั้นล่างในสังคมที่เชื่อว่าจะสามารถไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่อเมริกาได้ แต่ก็มีพวกนายทุนรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนเพื่อกอบโกยผลประโยชน์อยู่เหมือนกัน
อพยพมาที่อเมริกา
          พวกนายทุนที่มาตั้งบริษัทในอเมริกาต้องได้รับการสัมปทานสิทธิ์จากกษัตริย์แห่งอังกฤษ เนื่องจากแผ่นดินอเมริกาเป็นสมบัติของกษัตริย์ นับตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปีค.ศ.1732 ซึ่งก็คือหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อาณานิคมอังกฤษในอเมริกานั้นก็มีถึง 13 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ โดย 8 จาก 13 ขึ้นตรงต่อกษัตริย์อังกฤษ อันได้แก่ เวอร์จิเนีย แมสซาซูเสตส์ นิวยอร์ก นิวเจอร์ซี นิวแฮมป์เชียร์ นอร์ธคาโรไลนา เซาท์คาโรไลนา และจอร์เจีย โดยจะมีข้าหลวงใหญ่ซึ่งถูกแต่งตั้งจากกษัตริย์อังกฤษมาดูแลความเรียบร้อย ส่วนอีกอาณานิคมอีก 3 แห่ง แมรีแลนด์ เพนซิลวาเนีย เดลาแวร์ มีข้าหลวงใหญ่ที่ถูกแต่งตั้งจากเหล่าขุนนางผู้มีอิทธิพลและอำนาจทางการเงินส่วนที่เหลืออย่างคอนเนกติกัตและโรดไอแลนด์นั้น เป็นอาณานิคมที่ปกครองตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นทั้ง 13 รัฐอาณานิคมก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากกษัตริย์อังกฤษก่อนทั้งสิ้น
       
13 รัฐอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
          ตามที่กล่าวไปด้านบนแล้วว่า คนส่วนมากที่อพยพไปก็คือพวกชนชั้นล่างในสังคมที่เชื่อว่าจะสามารถไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่อเมริกาได้ พออยู่ไปซักพักก็เริ่มรู้ตัวว่าสิ่งที่คิดไว้ มันเริ่มไม่ใช่ ดินแดนแห่งนี้ยังคงโดนครอบงำด้วยระบบชนชั้น หลายๆคนจึงเริ่มถวิลหาคำว่า อิสรภาพที่แท้จริง ทำให้นักคิดหลายคนเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงนี้ ยกตัวอย่างเช่น เบนจามิน แฟรงคริน และโทมัส เจฟเฟอร์สัน
  
โทมัส เจฟเฟอร์สัน
เบนจามิน แฟรนคริน
          ในตอนแรก ความคิดที่พยายามจะคัดค้านพวกนายทุนอังกฤษ ความคิดที่จะแยกตัวออกมาเป็นเอกราชโดยไม่ขึ้นตรงอังกฤษอีกต่อไป ถูกพวกที่ยังคงจงรักภัคดีกับระบบกษัตริย์คัดค้านอยู่เหมือนกัน เนื่องจากความคิดเหล่านี้มันหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใต้สำนึกมานานเกินไป ทำให้ไม่มีใครกล้าออกมาเคลื่อนไหวมากนัก อีกอย่างหนึ่งผู้คนในตอนนั้นต่างก็มองว่าอเมริกาที่ไม่มีอะไรเลย ทั้งอาวุธ ทั้งกองทัพ ทั้งผู้นำ จะเอาอะไรไปขัดขืนสหราชอาณาจักรที่มีพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ กองทัพ แล้วก็ผู้นำ
          แต่ที่ทำให้คนเหล่านี้ทนไม่ได้จริงๆก็คือ การที่ทางอังกฤษขึ้นภาษีสูงลิบลิ่ว เนื่องจากฐานะทางการเงินของตัวเองอยู่ในสภาพง่อนแง่นหลังจากที่ใช้จ่ายไปมากมายกับการทำสงครามเจ็ดปี เลยต้องการหาเงินเข้าท้องพระคลังอย่างด่วนที่สุด การจัดเก็บภาษีประชาชนจึงกลายเป็นคำตอบของปัญหานั่นเอง
         ในปีค.ศ. 1764 ได้เริ่มประกาศใช้ ภาษีน้ำตาล ในอาณานิคมอเมริกาเหนือ ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ.1765 ทางจักรวรรดิก็ประกาศใช้ ภาษีอากรแสตมป์ และเพื่อให้การบังคับใช้ภาษีอากรแสตมป์เป็นไปอย่างราบรื่น จักรวรรดิอังกฤษจึงออก กฎหมายตั้งทัพตามมา ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้กองทัพอังกฤษประจำอาณานิคมอเมริกาเหนือสามารถจัดตั้งทัพและใช้อาคารสาธารณะได้

          ในช่วงที่ประกาศใช้ภาษีน้ำตาลเหล่าคนที่อยู่ในเมืองอาณานิคมก็เริ่มไม่พอใจแล้ว พอประกาศบังคับใช้ภาษีอากรอีก พวกเขาจึงระเบิดความเก็บกดในใจที่มีกับเมืองแม่ออกมา พวกเขาเดินหน้าชุมนุมคัดค้าน ที่ในบอสตัน[เมืองหลวงของแมสซาชูเสตส์] นิวยอร์ก และฟิลาเดลเฟียได้เสนอให้คว่ำบาตรสินค้าอังกฤษ ซึ่งข้อเสนอนี้ก็ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง ทำให้การคว่ำบาตรสินค้าจากอังกฤษจึงเริ่มต้นขึ้น และนำมาซึ่งความรุนแรงในภายหลัง


         
         

No comments:

Post a Comment