Soldier In The Army With Sniper Rifle

Thursday, January 15, 2015

การปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)

           
           Eh-eh-o eh-o I was left to my own devices พอได้ยินท่อนนี้ก็รู้เลยว่าคือเพลงอะไร แน่นอนค่ะเป็นเพลง Pompeii ของวง Bastille ที่ทุกคนน่าจะชอบและรู้จักกันดี พอพูดถึงคำว่า Bastille แล้ว นอกจากชื่อวงที่ได้มากจากวันเกิดของนักร้องนำทรงผมเฟี้ยวฟ้าวแล้ว ย่อมนึกถึงวันชาติฝรั่งเศส เอาหล่ะค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส แล้วเกี่ยวกับคำว่า Bastille อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ


            การปฏิวัติฝรั่งเศส Révolution française เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปที่ส่งผลต่อ การปกครองในหลายๆประเทศ โดยการปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1789 – 1799 โดยระบอบเก่าของฝรั่งเศสคือ ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถูกโค่นล้มโดนประชาชนชั้นกลาง

สาเหตุของการปฏิวัติ
            การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุสาหกรรม การใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยโดยราชสำนัก การใช้ค่าใช้จ่ายไปกับการทำสงครามในต่างประเทศ การรับอิทธิพลทางความคิดเรื่องระบอบการปกครองจากต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ผิดจุดเช่นการเพิ่มภาระภาษีให้กับฐานันดรที่ 3 แต่ยังคงละเว้นฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่ง ฐานันดรที่ 1 คือ พระ ฐานันดรที่ 2 คือ ขุนนาง ฐานันดรที่ 3 คือประชาชนทั่วไป เพราะเหตุที่มีอภิสิทธิชนอย่างฐานันดร 1และ2 ทำให้เกิดความแตกต่างของชนชั้นเป็นอย่างมาก 

การปฏิวัติ
  ในปี ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรขึ้น แต่เกิดปัญหาขึ้นพราะใช้ระบบนับคะแนนเป็นฐานันดร 1 ฐานันดร 1 เสียง แต่ไม่ยุติธรรม เพราะการลงคะแนนแบบนี้ทำให้ฐานันดรที่ 1 และ 2 เหนือกว่าฐานันดรที่ 3 จนมีข้อเสนอให้มีการนับคะแนนเป็น 1 คน 1 เสียง ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ที่ไม่พอใจจึงเดินออกจากสภาและไปก่อตั้งสภาสมัชชาแห่งชาติขึ้นมา พระเจ้าหลุยส์เสนอว่าให้จัดการประชุมอีกครั้งในวันที่ 20 มิถุนายน แต่เหล่าสมัชชาแห่งชาติไม่เข้าร่วมด้วย แล้วไปจัดตั้งการประชุมของตนที่บริเวณใกล้เคียง คือ สนามเทนนิส ที่แท้จริงแล้วเป็นสนามแฮนด์บอล พวกเขาปฏิญาณตนว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญ หนึ่งในนั้นมีบุคคลที่ชื่อว่า มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์



            ต้นเดือนกรกฎาคม ทหาร 30,000 นาย ได้วางกองกำลังรอบกรุงปารีสจากคำสั่งของพระเจ้าหลุยส์ ประชาชนได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันชาติเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ก่อเหตุจลาจลแล้วปล้นอาวุธ พวกเขามีอาวุธ แต่ขาดดินปืน แน่นอนคือ คุก Bastille สถานที่เก็บดินปืน




           ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนได้บุกเข้าไปทำลายคุกบาสตีย์พร้อมกับธงที่มีสีน้ำเงิน แดง ที่เป็นสีของกรุงปารีส และมีแถบสีขาวคั่น กำเนิดเป็นธง le tricolore ที่ใช้เป็นสัญลักษญ์ของการปฏิวัติอย่างแพร่หลาย คุกบาสตีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ของระบอบกษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจ ที่ก่อให้เกิดวามกลัว ประชาชนก่อความวุ่นวายที่รุนแรง ประชาชนดึงก้อนหินที่ใช้สร้างคุกทีละก้อนด้วยความคับแค้นของประชาชน ในครั้งนี้ประชาชนได้รับชัยชนะ




            สมัชชาแห่งชาติประกาศว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน มีการให้เสรีภาพกับสื่อมากขึ้นหลังจากถูกปิดบังโดยระบอบเก่า
             
            ขณะที่ภายในฝรั่งเศสมีวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป พระมหากษัตริย์ปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีจุดประสงค์ให้พระเจ้าหลุยส์มีอำนาจอีกครั้งและยุบสมัชชาแห่งชาติ และหากประชาชนไม่หยุดจะโจมตีฝรั่งเศสแต่ประชาชนไม่สนใจและเตรียมการต่อสู้ โดยสุดท้ายแล้ว หากประชาชนฝรั่งเศสแพ้ พระเจ้าหลุยส์จะได้อำนาจคืน

            ในตอนที่พระเจ้าหลุยส์กำลังจะหนีออกไป พระองค์ถูกจับได้และมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ได้กล่าวเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่าทรงขายชาติ ทั้งยังให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย
ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการ อุดมการณืในอดีตจากที่ไม่ต้องการความวุ่นวายกลับเกิดเหตุจลาจล เขาต้องการความสงบสุข ต้องการความเท่าเทียมกันในสังคม แต่เขากลับเป็นผู้ที่จับกุมประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่มีความผิดเล็กน้อยจนเป็นคดีใหญ่ๆ เขาจับกุมและประหารผู้คนเป็นพัน ๆ ช่วงเวลานี้เรียกว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว 



           สุดท้ายแล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตถูกตัดสินให้ประหารชีวิตในปี 1793 ด้วยกิโยติน และ รอแบ็สปีแยร์ เขาได้พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ จนสุดท้าย ใบมีดของกิโยตีนก็หันกลับมาปลิดเขาเอง

เพิ่มเติมกันนะคะ เครื่องประหารที่มีชื่อว่า กิโยตีน นั้น กลุ่มปฏิวัติฝรั่งเศสมีความคิดว่า ในอดีตพวกเหล่าชนชั้นสูงเวลาที่ถูกประหารจะใช้ดาบหรือขวาน เพื่อให้ทรมารเพียงเวลาสั้น และครั้งเดียว แต่ส่วนของประชาชนจะใช้วิธีการแขวนคอและวิธีการประหารอย่างโหดร้ายจากยุคกลาง ซึ่งบางครั้งยังไม่ตายในทีเดียว เขาเลยคิดเครื่องที่ทรมานสั้นๆ เจ็บน้อยๆ แต่ตายเพียงครั้งเดียวขึ้นมา เพื่อให้เท่าเทียมกัน


ปล. ชื่อแฟนคลับ Bastille คือ Stormer  ก็น่าจะเป็นเพราะ "ผู้บุกรุก" นั่นเอง



2 comments:

  1. บทความเป็นประโยชน์มากครับ :)

    ReplyDelete
  2. มาเจอบทความนี้เพราะเกม Assassin's Creed Unity ครับ

    เล่นเกมนี้แล้วทำให้สนใจประวัติศาสตร์ขึ้นมาเลย

    ReplyDelete