Soldier In The Army With Sniper Rifle

Thursday, January 29, 2015

สงครามสามสิบปี


          ขึ้นชื่อว่าสงครามคงไม่หนีไม่พ้นความสูญเสียที่เกิดจากความขัดแย้งต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งก็เกิดจากความไม่ลงรอยกันทางความคิด ความแตกต่างทางศาสนา การขัดผลประโยชน์ระหว่างประเทศหรือภายในประเทศ บางสงครามนั้นสู้กันไม่ถึงเดือนก็จบ บางสงครามก็ยือเยื้อกันเป็นปี บางครั้งก็เป็นสิบปี ยี่สิบปี หรือสามสิบปีอย่างสงครามหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินเยอรมันเมื่อนานมาแล้ว

Thirty Years' War

          สงครามสามสิบปี (Thirty Years' War) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648 เป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรปสงครามหนึ่ง สงครามส่วนใหญ่ปะทะกันในดินแดนเยอรมนีและเกือบทุกประเทศในยุโรปตอนนั้นต่างเข้าร่วมสงครามนี้ อีกทั้งสงครามสามสิบปียังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

พื้นที่ประเทศที่เข้าร่วมสงครามและกลายเป็นสมรภูมิ
สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศสเปนและอิตาลี อีกทั้งยังเป็นราชวงศ์ที่ปกครองในตำแหน่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อชิงการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา
สงครามสามสิบปี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายที่นิยมจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งนับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับฝ่ายที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ซึ่งสงครามครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 4 ช่วงและแต่ละช่วงมีความหมายของสงครามต่างกันออกไป กล่าวคือ ในช่วงแรกของสงคราม เป็นเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างรัฐต่างๆในเยอรมันอย่างชัดเจน แต่ทว่าช่วงที่ 2 3 และ 4 ของ
สงครามกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ 4 เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสที่เป็นประเทศที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเข้าร่วมสงครามในฐานะผู้สนับสนุนฝ่ายโปรเตสแตนท์ จึงจะเห็นได้ว่าสงครามสามสิบปีไม่ได้มีแค่เรื่องความขัดแย้งทางศาสนาแต่ยังโยงใยไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

ช่วงเวลาที่แต่ละประเทศเข้าร่วมในสงคราม

สงครามสามสิบปี เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ฝ่ายนิยมคาทอลิก นำโดยพระจักรพรรดิเฟอร์ดินาน ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่ง โบฮีเมีย ซึ่งตัวพระจักรพรรดิทรงเป็นคาทอลิกที่เคร่งครัดอย่างมาก ถึงขนาดพยายามจะล้มล้างการนับถือนิกายโปรเตสแตนท์ในดินแดนต่างๆของเยอรมัน ชาวโบฮีเมียเมื่อทราบข่าวก็ไม่พอใจ และก่อการกบฏต่อต้านพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานที่ 2 และทูลเชิญ พระเจ้าเฟดเดอริคที่ 5 ซึ่งเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและยังเป็นผู้นำโปรเตสแตนท์ในเวลานั้นด้วย เพื่อรักษาอำนาจของพระจักรพรรดิ พระองค์จึงทรงนำทัพเข้าปราบปรามและผลของสงครามสามสิบปีช่วงแรกคือ ชัยชนะของฝ่ายจักรพรรดิ เนื่องมาจากประเทศที่สนับสนุนฝ่ายโปรเตสแตนท์ยังไม่พร้อมเข้าร่วมสงครามเช่น เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ทำให้กำลังรบน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อการปราบปรามจบลง ชาวโบฮีเมีย 8 แสนคนถูกประหารชีวิตและพระเจ้าเฟดเดอริกถูกถอดยศศักดิ์ทั้งหมดแล้วเนรเทศไปยังแคว้นลอร์เรน จึงนับได้ว่าเป็นชัยชนะที่สมบูรณ์ของจักรวรรดิ
พระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2

พระเจ้าเฟดเดอริคที่ 5
แต่เมื่อชาวโบฮีเมียถูกประหารชีวิตถึง 8 แสนคนทำให้เจ้านครรัฐเยอรมันทางเหนือต้องวิตกกังวลกลัวว่าจะพบกับชะตากรรมเดียวกันจึงไปขอความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก เดนมาร์กเองก็กลัวว่า สหภาพเฮนเซียติกที่เป็นฐานที่มั่นทางการค้าของตนจะถูกอำนาจของจักรวรรดิคุกคามไปด้วย รวมถึงเดนมาร์กในตอนนั้นมีฐานะเป็นผู้รักษาประตูทางเข้าทะเลบอลติก จึงตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม แต่ก็พ่ายแพ้ยับเยิน เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนั้นสวีเดนจึงตัดสินใจเข้าร่วมสงครามแทนโดยมีพระเจ้ากุสตาวุสอดอลฟุสนำทัพด้วยพระองค์เองและฝรั่งเศสจะคอยสนับสนุนเงินอยู่เบื้องหลัง ในช่วงที่ สาม ของสงครามนี้ สวีเดนสามารถเอาชนะทัพของฝ่ายจักรวรรดิได้หลายครั้ง
แม้แต่แม่ทัพ ทิลลี่ผู้เคยปราบปรามโบฮีเมียยังเสียชีวิต จนพระจักรพรรดิต้องเรียก วอลเลนสไตน์ ผู้ที่เคยพิชิตเดนมาร์กได้แล้วครั้งนึงมาเป็นแม่ทัพ และเกิดการรบขึ้นผลของการรบคือ พระเจ้ากุสตาวุส สิ้นพระชนม์กลางสนามรบ แต่ก็ยังสามารถเอาชนะได้ สวีเดนเมื่อขาดผู้นำทัพจึงต้องถอยทัพกลับ ต่อมา วอลเลนสไตน์ถูกลอบสังหาร เกิดสนธิสัญญาที่ ปราก จักรพรรดิยอมรับสิทธิของนิกายลูเธอร์ แต่ไม่ยอมรับนิกายคัลแวงที่เจ้านายรัฐเยอรมันทางเหนือนับถือ ฝรั่งเศสจึงเข้าร่วมการรบด้วยตัวเอง ถือเป็นช่วงสุดท้ายของสงคราม  ในช่วงสุดท้ายของสงครามนี้ สเปนที่มีพระเจ้าฟิลิบที่ 4  ซึ่งเป็นพระญาติทางพระจักรพรรดิเฟอร์ดินาน ที่ 2 เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายจักรวรรดิด้วย
ในช่วงแรกฝรั่งเศสเสียเปรียบ แต่เมื่อในสเปนเกิดกบฏและพันธมิตรของฝรั่งเศสได้แก่ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ซาวอย และเจ้านครรัฐที่นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ต่างๆของเยอรมันและเดนมาร์ก เข้าร่วม
          สงครามด้วยทำให้ฝรั่งเศสได้เปรียบยิ่งขึ้น แต่แล้วเมื่อพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานที่2 สิ้นพระชนม์และพระคาดินัล ริเชอร์ลิเออ เสียชีวิต ทำให้พระจักรพรรดิเฟอร์ดินาน ที่ 3 ขอทำสัญญาสงบศึก เกิดสนธิสัญญาแห่งเวสฟาเลียขึ้น

การลงนามในสนธิสัญญาแห่งเวสฟาเลีย
การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่างๆ ในเยอรมนี, กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์(Treaty of Münster)ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย



ผลของสงครามครั้งนี้ ประชาชนชีวิตไปมากกว่า 8 ล้านคน มีการยอมรับสิทธิในการนับถือศาสนาของประชาชนในยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยังเป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายในยุโรปด้วยสวีเดนได้กลายเป็นมหาอำนาจทางภาคเหนือแทนที่เดนมาร์กระบบศักดินาสวามิภักดิ์สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ กษัตริย์ขึ้นมาปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริงและยังเป็นสัญญาณของการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วยเนื่องจากต่อจากนี้ไปจักรพรรดิจะไม่สามารถหาสิทธิใดเข้าไปควบคุมเจ้านายรัฐต่างๆในเยอรมันได้ ทำให้ขั้วอำนาจทางภาคกลางของยุโรปเปลี่ยนไป นอกจากนี้สเปนที่เข้าร่วมสงครามยังต้องสูญเสียเงินทองมหาศาลในการรบกับฝรั่งเศสและการปราบกบฏ รวมทั้งยังต้องให้เอกราชแก่เนเธอร์แลนด์ ส่งผลให้ฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในยุโรปแทนที่ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์และสเปนทันที






No comments:

Post a Comment