Soldier In The Army With Sniper Rifle

Saturday, February 7, 2015

จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2

            หากถามถึงสงครามที่เกิดความสูญเสียมากที่สุด คำตอบก็คงไม่พ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ Second World War แน่นอน เพราะนับว่าเป็นสงครามที่มีชาติต่างๆเข้าร่วมมากที่สุด มีการวางแผนการและยุทธการรบที่ทำให้มีคนตายในสมรภูมิหนึ่งไม่น้อย มีการพัฒนาอาวุธประสิทธิภาพรุนแรงจนสามารถทำลายเมืองๆหนึ่งให้หายไปในพริบตาเดียว จุดเริ่มต้นของความรุนแรงทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวนี่ก็มาจาก...
            
            สงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II) เป็นสงครามที่เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ โดยแบ่งประเทศที่เข้าร่วมได้เป็น

            1 ฝ่ายอักษะ Axis Powers ประกอบไปด้วยสามาชิคหลักคือ นาซีเยอรมัน ที่มีผู้นำคือ Adolf Hitler อิตาลี ที่มีผู้นำคือ Benito Mussolini และ ญี่ปุ่น ที่มีผู้นำคือ จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ



Mussolini และ Hitler


จักรพรรดิ ฮิโระฮิโตะ


            2 ฝ่ายสัมพันธมิตร มีแกนนำหลักคือ สหราชอาณาจักร มีผู้นำในสงครามคือ Winston Churchill สหรัฐอเมริกา มีผู้นำคือ Franklin Delano Roosevelt และ สหภาพโซเวียต ที่มี Joseph Stalin เป็นผู้นำ

Churchill Roosevevelt และ Stalin


สาเหตุ
            เยอรมนีไม่ยอมทนต่อสนธิสัญญาแวร์ไซน์ ที่เยอรมันต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจก็โดนผลกระทบ เพราะในตอนนั้นค่าเงินของเยอรมนีถูกกดลงจนมีค่าเพียง 4,000,000,000 มาร์ก = 1 USD กำลังทหารและอาวุธก็โดนควบคุมจำนวนจนเหลือเพียงน้อยนิด
            ฮิตเลอร์จึงได้เปิดสงครามเพื่อการขยายพื้นที่เลี้ยงชีพของชาวเยอรมันแท้ หรือที่เรียกว่า อารยัน นั้นเอง

Thursday, February 5, 2015

สงครามครูเสด


          ในชั่งโมงเรียนประวัติศาสตร์สากลที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสงครามหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่าสงครามศาสนา แล้วพอเห็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามนี้เรานี่ร้อง "อู้หู!" เลย อะไรมันจะนานขนาดนั้น เกือบสามร้อยปีเชียวนะ ไม่ธรรมดาซะแล้ว หลายคนคงแอบเดาได้ เพราะถือว่าเป็นสงครามที่ดังมากเลยทีเดียวเชียว แต่บางคนก็ยังเดาไม่ถูก แล้วอยากรู้หรือเปล่าล่ะ? ว่าสงครามที่ว่านี่คือสงครามอะไร ถ้าอยากรู้ก็อ่านต่อไปได้เลย


          สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งนั้นก็คือสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ ซึ่งสงครามนี้เกิดในสถานที่สำคัญของศาสนาคริสต์ อิสลาม ยูได ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
แผนที่เมืองสำคัญในสงครามครูเสด

แผนที่การเดินทัพในสงครามครูเสดครั้งแรก
          "สงครามครูเสด" มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนาหรือสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
“ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์”
          ซึ่งดูเป็นความเชื่อที่ดูโหดร้ายในสายตาชาวพุทธอย่างเรา ที่ถูกสอนอยู่เสมอว่า "การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป" แต่ความเชื่อของพวกเขาตอนนั้นเป็นแบบนั้นจริงๆ บางทีตอนนี้อาจจะมีความเชื่อนั้นอยู่ก็ได้ แต่ในรูปแบบอื่น อย่างเช่น การฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ถูกไม่บาป ในสมัยรัฐบาลไทยสมัยหนึ่ง
           ส่วนสาเหตุของความขัดแย้งของทั้ง 2 ศาสนาจนนำมาซึ่งสงครามครูเสดก็คือ
                    1 สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก เพื่อที่จะได้มีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งโดยการนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
ดินแดนศักดิ์สิทธิ์หรือคานาอัน ที่ชาวคริสต์และมุสลิมปะทะกัน
                    2 ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็ม
นครเยรูซาเล็ม
                    3 ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พระสันตะปาปา  มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิม
                    4 มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา ชาวคริสต์จึงทำสงครามเพื่อหยุดยั้งความเจริญของชาวมุสลิม
                    5 สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย โดยรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ (Frank ) และนอร์แมน ( Norman )

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด 
          หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ ซึ่งบางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน 
          เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ แ
          ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนก จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
          แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญ พวกทาสต้องการอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก และในช่วงนั้นตรงกับสมัยที่อำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน
          พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด แต่เกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันทีเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า
          “ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

          ปรากฏว่ารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นคำพูดเท็จเกือบทั้งหมด กองทัพที่เดินทางไปทำสงครามนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน 
          กองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้านและตายอยู่กลางทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ทำให้ชาวยุโรปเกลียดและมีความแค้นต่อชาวมุสลิมมากขึ้น
          สงครามครูเสดเกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส  ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี


          ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าๆจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า
          ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ 
          สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ไป
          ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้
          สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์     หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินในค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ 


          หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ โดยที่เมื่อทหารครูเสดพยายามมาสู้เพื่อเอาเมืองคืนก็ต้อองพ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง 

สงครามดอกกุหลาบ


         สงครามดอกกุหลาบ สงครามแห่งการชิงบัลลังก์ เพื่อแย่งชิงความยิ่งใหญ่เหนือสุดในดินแดนอังกฤษ โดยสองราชวงศ์ สองสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล สองดอกกุหลาบ สงครามครั้งนี้จะเป็นอย่างไร เชิญติดตามกันเลยค่ะ


          สงครามดอกกุหลาบ (Wars of The Rose) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ค เพื่อจะได้เป็นกษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งความจริงแล้วราชวงศ์ทั้งสองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท) โดยสงครามนี้เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1453-1487ถึงแม้ว่าอาจจะมีการสู้รบกันก่อนหรือหลังจากนี้บ้างเป็นบางครั้ง


พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3

          เฮนรีแห่งโบลิงโบรค (ทรงราชย์ปีค.ศ. 1399, หรือพระเจ้าเฮนรีที่ 4)  เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ พระองค์ทรงปลดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 จากการเป็นพระมหากษัตริย์ ด้วยสาเหตุที่ว่าการปกครองของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ทำให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ในหมู่ขุนนางโดยทั่วไป พระเจ้าเฮนรีที่ 4 และพระราชโอรสพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ทรงสามารถปกครองอังกฤษได้โดยไม่มีปัญหาโดยเฉพาะในด้านการใช้กำลังทหาร แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคต พระเจ้าเฮนรีที่ 6รัชทายาทของพระองค์ก็ยังทรงเป็นทารกและทรงเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่พระสุขภาพทางจิตไม่ใคร่ปกตินัก ทำให้พระองค์ทรงถูกปกครองภายใต้อิทธิพลของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีแต่เรื่องทะเลาะกัน
          ความไม่มีสมรรถภาพในการครองราชบัลลังก์เป็นการเปิดโอกาสให้ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระโอรสองค์ที่สองและสี่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ซึ่งนั่นก็คือไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พ ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นผู้มีความสามารถในด้านการบริหารในการที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ของราชอาณาจักร ดยุคแห่งยอร์คได้ทำการโต้เถียงกับบุคคลสำคัญของตระกูลแลงคาสเตอร์ในราชสำนักต่อหน้าพระราชินีมาร์กาเร็ตในสมเด็จพระเจ้าเฮนรี
แผนผังราชวงศ์   
          การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1455 ในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 >>> ผู้นำคนสำคัญๆของฝ่ายแลงคาสเตอร์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกแลงคาสเตอร์ที่ยังมีชีวิตรอดก็มีความแค้นต่อริชาร์ดมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการสงบสุขกันอยู่ระยะหนึ่งแต่พระราชินีมาร์กาเร็ตก็ยังทรงยุให้ฝ่ายแลงคาสเตอร์ท้าอิทธิพลและอำนาจของฝ่ายยอร์ค



          การต่อสู้เริ่มขึ้นอย่างรุนแรงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1459 ฝ่ายยอร์คเสียเปรียบจนต้องหนีออกจากประเทศแต่ต่อมา ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 นำทัพเข้ามารุกรานอังกฤษจากทางคาเลส์และจับพระเจ้าเฮนรีได้ในยุทธการนอร์ทแธมตัน ทำให้ดยุคแห่งยอร์คจึงกลับอังกฤษและปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษและได้ขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษอย่างเต็มตัว  ทำให้พระราชินีมาร์กาเร็ตและขุนนางแลงคาสเตอร์ไปรวมตัวกันทางเหนือของอังกฤษ
          เมื่อดยุคแห่งยอร์คนำทัพมาปราบก็ถูกสังหารในปลายปีค.ศ. 1460 กองทัพฝ่ายแลงคาสเตอร์จึงเดินทัพลงมายังลอนดอนและจับพระเจ้าเฮนรีได้อีกครั้งในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) แต่ก็ไม่สามารถยึดลอนดอนได้จนต้องถอยกลับไปทางเหนือ
          ต่อมาบุตรคนโตของดยุคแห่งยอร์คประกาศตัวเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และทรงรวบรวมกองกำลังฝ่ายยอร์คกลับมาและทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดใน ยุทธการโทว์ทัน (Battle of Towton)
          เมื่อต้นปี ค.ศ. 1461 หลังจากนั้นการต่อต้านของฝ่ายแลงคาสเตอร์ก็ยังมีอยู่ประปรายและการถูกจับตัวของพระเจ้าเฮนรี่ในปีค.ศ.1464 ซึ่งทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงมีความบาดหมางกับผู้สนับสนุนของพระองค์และเอิร์ลแห่งวอริค ผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
          และยังทรงห่างเหินกับพระสหายและแม้แต่พระญาติพระวงศ์ของพระองค์เอง โดยทรงหันไปให้การสนับสนุนสมาชิกจากพระญาติพระวงศ์ของพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ทรงเสกสมรสด้วยอย่างลับๆ
          เอิร์ลแห่งวอริคพยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการยกพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 ขึ้นแทน แต่ต่อมาก็หันไปยกพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี ค.ศ. 1471 (เอิร์ลแห่งวอริคและเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์เสียชีวิตในสนามรบและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงถูกสังหารทันที)
          หลังจากนั้นบ้านเมืองก็สงบอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันในปี ค.ศ. 1483
          พระอนุชาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ผู้ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ และพระองค์ก็ทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 โดยกล่าวหาความถูกต้องของการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นข้ออ้าง  ทำให้เกิดความไม่สงบในหลายๆแห่งของอังกฤษ เพราะประชสชนหลายคนสงสับว่าพระองค์ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และ พระอนุชาหรือเจ้าชายในหอคอยลอนดอน
          ค.ศ.1485 เฮนรี ทิวดอร์ผู้เป็นพระญาติห่างๆ ทางสายแลงคาสเตอร์ผู้อ้างในสิทธิในราชบัลลังก์ ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ในยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์
          ค.ศ. 1487 ทางฝ่ายยอร์คก็ลุกขึ้นต่อต้าน ทำให้ผู้สืบสายของฝ่ายยอร์คจะถูกคุมขังเป็นจำนวนมากแต่การต่อต้านก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ประปรายจนกระทั่งเพอร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) ผู้อ้างสิทธิฝ่ายยอร์คถูกสังหารปี ค.ศ. 1499

          บทสรุปของสงครามนี้คือ เกิดราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ทิวดอร์ที่เกิดจากการรวมราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสระหว่างเฮนรี ทิวดอร์และพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก สงครามครั้งคราชีวิตของพวกขุนนางไปมาก ทำให้อำนาจของกลุ่มขุนนางน้อยลงและกลุ่มพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้น การปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์ก็เป็นการทำให้ระบบกษัตริย์แข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน นับเป็นจุดจบของยุคกลางและขึ้นต้นเป็นยุค Renaissance


ตราราชวงศ์

สงครามนโปเลียน Napoleonic Wars




            เวลามีคนลงมุขฮาๆเกรียนๆเกี่ยวกับการตอบคำตอบในข้อสอบข้อเขียน เรามักจะเห็นคำถามว่า “สงครามครั้งนโปเลียน คือที่ไหน” มันก็จะมีคำตอบว่า “ก็สงครามที่เขาตาย” ในวันนี้นะคะ เราจะมาพูดถึง สงครามนโปเลียนกันดีกว่าคะ จะได้คำตอบชัดๆจริงๆกันไปเลยว่าสงครามครั้งสุดท้ายของเขาคือครั้งไหนที่ไหนกันคะ
          ก่อนอื่นเลยนะคะ สงครามนโปเลียนนี้เป็นผลต่อเนื่องจาก ปฏิวัติฝรั่งเศส ถ้ายังไม่เคยอ่านเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ไปลองอ่านของบล็อกนี้ได้เลยนะคะ //แอบโปรโมต

นโปเลียนคือใคร?
          Napoléon Bonaparte คือ นายพลในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และได้ดำรงตำแหน่งเป็นกงสุลใหญ่ จนกระทั่งได้เป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส


สงคราม

The First Coalition 1792-1795

          เพราะการปฏิวัติ ออสเตรียจึงเป็นห่วงพระนางมารีอังตัวเน็ต พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ดังนั้นออสเตรียจึงเข้ารวมกับปรัสเซียในการต่อสู้กับฝรั่งเศส

The Second Coalition 1798-1801                              

          เพราะความเก่งของนโปเลียน Directory จึงส่งเขาไปที่อียิปต์ ซึ่งถ้าเกิดว่าฝรั่งเศสสามารถยึดฝั่งตะวันออกกลางได้ ก็จะเป็นการตัดเส้นทางไปสู่อินเดียซึ่งจะส่งผลต่ออังกฤษ  ในเดือนสิงหาคม ได้เกิดสงครามแม่น้ำไนล์ขึ้น ไปๆมาๆ นโปเลียนก็กลับไปฝรั่งเศส

The Third Coalition

          ทั้ง อังกฤษ รัสเซีย ออสเตรีย สวีเดน และบางรัฐของเยอรมัน ได้รวมกันต่อสู่กับฝรั่งเศสในสมัยที่นโปเลียนได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส ในช่วงนี้เกดิยุทธการที่สำคัญที่ Trafalga

The Fifth Coalition

          เป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษและออสเตรีย

The sixth Coalition

          ฝรั่งเศสบุกเข้าโจมตีรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายไปเพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็น



          สุดท้ายนโปเลียนที่พ่ายแพ้ในสงครามที่วอร์เตอร์ลูก็ถูกส่งตัวไปเกาะ St. Helena และนักประวัติศาสตร์ก็ได้มีการถกเถียงประเด็นสาเหตุการณ์ตายของนโปเลียน ซึ่งได้บอกกันว่าเป็นมะเร็งกระเพราะอาหาร บางท่านได้กล่าวว่าเป็นเพราะโดนวางยาเป็นสารหนู บางท่านก็บอกว่าเป็นเพราะอาหารทะเลที่ท่านเสวยเพราะท่านต้องอยู่บนเกาะ อาหารทะเลยอาจจะมีสารหนูก็เป็นได้

Wednesday, February 4, 2015

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

          ในตอนนี้ประเทศเยอรมนีกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว พัฒนาการทางด้านต่างๆก็เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ก็ต้องผ่านความยากลำบากมาเหมือนกัน พวกเขาผ่านความเจ็บปวดและสูญเสียมามากมาย เป็นเหมือนแผลเป็นที่ไม่อาจลบเลือนได้ ทำได้เพียงนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน และเรียนรู้ที่จะไม่ก้าวพลาดเหมือนอย่างในอดีตอีก อดีตที่ว่านั้นก็คือการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่1 ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง

          สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้นใน ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดใน ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 กลุ่ม ก็คือ
                    กลุ่มไตรภาคี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี 
                    กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย      
         โดยชนวนของสงครามครั้งนี้คือการลอบปลงพระชนม์ดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินาน มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี กับพระชายาเคาน์เตส โซเฟีย โชเทกซ์ ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 ที่เมืองซาราเจโว เมืองหลวงของประเทศบอสเนีย ของนายกาฟริโล พรินซิป ซึ่งเป็นนักศึกษาชาวบอสเนีย สัญชาติเซอร์เบีย จากเหตุการณ์นี้ จึงทำให้ ออสเตรีย - ฮังการี ทำการประกาศสงครามกับ เซอร์เบีย
ดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์
          แต่นั้นก็เป็นแค่ชนวนเหตุของสงคราม ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงของสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุจริงๆของสงครามครั้งนี้ก็คือ
                    1. ลัทธิชาตินิยม : ใน ค.ศ. 1870 บิสมาร์กได้ดำเนินกุศโลบายจนเกิดสงครามฝรั่งเศส – ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) จากนั้นได้พยายามดำเนินนโยบายการโดดเดี่ยวกับฝรั่งเศส และปรัสเซียเป็นฝ่าย     ชนะ ฝรั่งเศสจึงต้องยอมสูญเสียแคว้น อัลซาสและลอร์เรนให้แก่ปรัสเซีย
                    2. ลัทธิจักรวรรดินิยม : เพราะเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศต่าง ๆ แสวงหาตลาดในการระบายสินค้าและแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมจึงก่อให้เกิด ความขัดแย้งกันทางด้านผลประโยชน์
                    3. การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป : เนื่องจากมหาอำนาจยุโรปมีความขัดแย้งกัน จึงจำเป็นต้องมีพัประเทศพันธมิตรไว้เป็นพวกทำให้ ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้คือ มหาอำนาจกลางและสัมพันธมิตร
                    4. ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน : สาเหตุของปัญหาเกิดจากการพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลระหว่างออสเตรีย – ฮังการี กับรัสเซียโดยรัสเซียต้องการใช้คาบสมุทรบอลข่านเป็นทางออกสู่ทะเลทางใต้ของตนและ ต้องการขึ้นเป็นผู้นำของชนชาติสลาฟ (Slav) ในคาบสมุทรบอลข่านอันมีเชื้อสายเดียวกับรัสเซีย


Tuesday, February 3, 2015

สนธิสัญญาแวร์ซายส์

พระราชวังแวร์ซายส์
          หลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าร่วมประชุมกันที่พระราชวังแวร์ชายส์ ในฝรั่งเศส เมื่อเดือนมกราคม 1919 ประกอบด้วยประเทศผู้นำอย่าง บริเทนใหญ่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี และผู้แทนของชาติอื่นๆรวม 32 ชาติมาร่วมประชุมและร่างสนธิสัญญาสงบศึกขึ้น
การร่างสนธิสัญญาสงบศึก
         การเจรจาเริ่มขึ้นเมื่อวันที่  18 มกราคม 1919  ในอาคาร Salle de I'Horloge ของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มจากการประชุมจาก 26 ประเทศ จำนวน 70 คน โดยประเทศผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ไม่ได้รับการรับเชิญให้เข้าร่วม สหภาพโซเวียต(รัสเซีย)ก็ถูกห้ามไม่ให้มาด้วยเหมือนกัน เพราะความไม่มั่นคงทางการเมืองในขณะนั้น และได้เคยทำสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนีมาแล้วในปี 1917

Operation Barbarossa ยุทธการบาร์บารอสซา



          Operation Barbarossa ยุทธการยึดสหภาพโซเวียต ยุทธการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ยุทธการที่โลกจะไม่ลืมเลือน



          ปฏิบัติการ Barbarossa มีที่มาจาก Friedrich Barbarossa จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) โดยกองทัพของนาซีเยอรมันบุกไปยึดรัศเซียเพื่อขยายพื้นที่ในการดำรงชีวิตของชาวอารยัน หรือ เยอรมันแท้


ปฏิบัติการนี้เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1941 กองทัพเยอรมันได้แบ่งไปสามทัพ คือ
1 ไปทางเลนินกราด ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น เซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก
2 ไปทางมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย
3 ไปทางสตาลินกราด แหล่งน้ำมันเชื่อเพลิงสำคัญของรถถัง ที่ตั้งชื่อตาม Joseph Stalin ผู้นำของสหภาพโซเวีตยที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียโดยแท้ แต่เป็นชาวจอร์เจีย แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นโวลโกกราด จากชื่อแม่น้ำที่ยาวที่สุดในยุโรปนั่นก็คือ แม่น้ำโวลกา


          กองทัพนาซีเยอรมันได้ใช้ยุทธวิธี Biltzkrieg หรือที่เรารู้จักกันดีว่า ยุทธวิธีสายฟ้าแลบ ที่ทำให้เยอรมันนีสามารถยึดทั้งโปแลนด์ ฝรั่งเศสได้ และยุทธวิธีนี้แหละที่ทำให้สามารถยึดประเทศต่างๆมาได้  โดยโจมตีอย่างรวดเร็วและทำให้ศัตรูไม่ทันตั้งตัว


          ในตอนต้นๆ Hitler มั่นใจมากว่าจะจบศึกครั้งนี้ได้โดยเร็วเสร็จก่อนฤดูหนาว แต่สุดท้ายแล้ว การที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของรัสเซียมากพอนั้นก็ส่งผลให้กำลังทหารที่เหนื่อยอ่อน ไม่ได้เปลี่ยนกองกำลัง จากฝุ่นที่คละคลุ้ง เจอฤดูฝนจนกลายเป็นโคลนทำให้กุญแจสำคัญอย่างรถถีงพัง ซ้ำยังพอถึงฤดูหนาวก็ไม่มีเสื้อกันหนาวใส่ ที่รัสเซียในปีนั้นก็เป็นปีที่หนาวมากๆด้วย ถึงขนาดติดลบ 30 องสา และกองทัพแดงที่ยิ่งหนาวยิ่งแข็งแกร่งของรัสเซียก็ย่อมเข้าใจสภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งสถานที่ของตนได้ดีกว่า อย่างตอนที่ใช้ยุทธวิธีซุ่มยิงแบบกองโจรตอนรบในเมืองสตาลินกราด
          จนสุดท้าย เยอรมันที่เคยยิ่งใหญ่ในตอนต้นของสงครามก็ต้องพ่ายแพ้ไป

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งชาติพันธุ์นะคะ


นาซี ได้แบ่งมนุษย์ออกให้ชาวอารยัน ตาฟ้า ผมบลอนด์ ตัวสูง เป็นพวกที่สูงที่สุดประเสริฐที่สุด และพวกที่ต่ำที่สุดคือ ยิว สลาฟ ยิปซี รวมถึงชาวโปล ชาวเซิร์บ ถูกจัดให้เป็นพวกต่ำกว่ามนุษย์ โดยมีชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Untermenschen หรือที่เรียกว่า Inferior Human ต้องถูกกำจัดออก (ถึงแม้ Hitler จะสังหารชาวยิวนับหลายชีวิต แต่เขาก็เว้นชีวิตของแพทย์ชาวยิวผู้หนึ่งที่รักษาครอบครัวของเขา)

Monday, February 2, 2015

ที่มาของชื่อ สงครามดอกกุหลาบ

          “สงครามดอกกุหลาบ” เชื่อกันว่าที่มาของชื่อนั้นมาจากตราประจำพระราชวงศ์ทั้งสอง กุหลาบแดงแห่งแลงคาสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามดอกกุหลาบมานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสือชื่อ “แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์” (Anne of Geierstein) 

ตรากุหลาบแดง และกุหลาบขาว

หนังสือ "แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์"
          บางครั้งผู้เข้าร่วมสงครามก็จะใช้ตราดอกกุหลาบนี้ระหว่างสงคราม แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะติดตราของเจ้าของที่ดินผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายความว่า เจ้าของที่ดินให้คำสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำมาหากินในที่ดิน (ระบบนี้ไม่ได้เป็นทางการมากนัก) การขยายตัวของระบบนึ้ทำให้การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมโทรมลงและเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามนี้ขึ้น 

P.s.สัญลักษณ์ที่ใช้ในสงคราม
-กองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ที่บอสเวิร์ธใช้ธงมังกรแดง 
-กองกำลังยอร์คใช้สัญลักษณ์หมีขาว 


         
          ในสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามได้ยุติลงเรียบร้อย พระองค์ทรงรวมดอกกุหลาบแดงและขาวเป็นดอกกุหลาบแดงขาวดอกเดียวที่เรียกว่า “กุหลาบทิวดอร์” (Tudor Rose)


ตราประราชวงศ์
          ชื่อของทั้งสองราชวงศ์ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเลยกับเมืองยอร์คและเมืองแลงคาสเตอร์ ตามข้อเท็จจริงแล้วอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในกลอสเตอร์เชอร์, นอร์ธเวลส์ และเชสเชอร์ 

Thursday, January 29, 2015

สงครามสามสิบปี


          ขึ้นชื่อว่าสงครามคงไม่หนีไม่พ้นความสูญเสียที่เกิดจากความขัดแย้งต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งก็เกิดจากความไม่ลงรอยกันทางความคิด ความแตกต่างทางศาสนา การขัดผลประโยชน์ระหว่างประเทศหรือภายในประเทศ บางสงครามนั้นสู้กันไม่ถึงเดือนก็จบ บางสงครามก็ยือเยื้อกันเป็นปี บางครั้งก็เป็นสิบปี ยี่สิบปี หรือสามสิบปีอย่างสงครามหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินเยอรมันเมื่อนานมาแล้ว

Thirty Years' War

          สงครามสามสิบปี (Thirty Years' War) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648 เป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรปสงครามหนึ่ง สงครามส่วนใหญ่ปะทะกันในดินแดนเยอรมนีและเกือบทุกประเทศในยุโรปตอนนั้นต่างเข้าร่วมสงครามนี้ อีกทั้งสงครามสามสิบปียังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

พื้นที่ประเทศที่เข้าร่วมสงครามและกลายเป็นสมรภูมิ
สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กที่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศสเปนและอิตาลี อีกทั้งยังเป็นราชวงศ์ที่ปกครองในตำแหน่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อชิงการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา
สงครามสามสิบปี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายที่นิยมจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งนับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกกับฝ่ายที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ซึ่งสงครามครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 4 ช่วงและแต่ละช่วงมีความหมายของสงครามต่างกันออกไป กล่าวคือ ในช่วงแรกของสงคราม เป็นเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างรัฐต่างๆในเยอรมันอย่างชัดเจน แต่ทว่าช่วงที่ 2 3 และ 4 ของ
สงครามกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ 4 เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสที่เป็นประเทศที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเข้าร่วมสงครามในฐานะผู้สนับสนุนฝ่ายโปรเตสแตนท์ จึงจะเห็นได้ว่าสงครามสามสิบปีไม่ได้มีแค่เรื่องความขัดแย้งทางศาสนาแต่ยังโยงใยไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

Monday, January 26, 2015

สงครามร้อยปี

          สงครามร้อยปี (Hundred Years' War) คือความขัดแย้งหลายครั้งระหว่างสองราชวงศ์ ระหว่างค.ศ. 1337 ถึง ค.ศ. 1453 เพื่อแย่งบัลลังก์ฝรั่งเศส นำไปสู่สงครามระหว่างสองประเทศ คือ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในสงครามอังกฤษสามารถบุกยึดฝรั่งเศสได้ทั้งประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในตอนท้ายฝรั่งเศสก็สามารถพลิกกับขึ้นมาเอาชนะอังกฤษและขับอังกฤษออกจากฝรั่งเศสได้


สาเหตุแห่งสงคราม
          ในค.ศ. 1324 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท ทำให้ราชวงศ์กาเป-เชียงสายตรงต้องสิ้นสุดลง พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 เป็นพระญาติชายที่ใกล้ชิดที่สุดทางสายพระโลหิต จึงเป็นผู้มีสิทธิจะครองบัลลังก์มากที่สุด แต่ขุนนางฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้กษัตริย์อังกฤษมาปกครองฝรั่งเศส จึงอ้างกฎบัตรซาลลิคของชนแฟรงก์โบราณว่า การสืบสันติวงศ์จะต้องผ่านทางผู้ชายเท่านั้น และให้ฟิลิปเคานท์แห่งวาลัวส์ ที่สืบเชื้อสายจากพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าฟิลิปที่ 6 เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์วาลัวส์ ซึ่งเป็นสาขาของราชวงศ์กาเปเชียง ใน ค.ศ. 1331 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ 3 ทรงยินยอมที่จะสละสิทธิ์ในบัลลังก์ฝรั่งเศสทั้งมวลแต่ครองแคว้นกาสโคนี
          ในค.ศ. 1333 พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงทำสงครามกับสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ตามสัญญาพันธมิตรเก่า (Auld Alliance) ทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพบุกยึดแคว้นกาสโคนี แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดทรงปราบปรามสกอตแลนด์อย่างรวดเร็วและหันมาตอบโต้พระเจ้าฟิลิปได้ทัน

Jeanne d'Arc วีรสตรีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด

          จากหญิงสาวชาวบ้านธรรมดากลายไปเป็นวีรสตรีที่ช่วยฝรั่งเศสให้รอดพ้นจากกองทัพอังกฤษ…  จากวีรสตรีผู้เด็ดเดี่ยวกลายเป็นแม่มดเพราะความเข้าใจผิด… และจากแม่มดที่ถูกเผาทั้งเป็นกลายไปเป็นนักบุญที่คนฝรั่งเศสยกย่อง… 

โจนออฟอาร์ค  (Joan of Arc) 

          ฌาน ดาร์ก หรือ โจนออฟอาร์ค  (Joan of Arc) เกิดที่เมือง ดอมเรมี ในแถบที่ราบของแคว้นลอร์เรน ทางภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้น ได้ถูกยึดครองโดยประเทศอังกฤษ และเธอถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาตระกูล "ดาร์ค" ซึ่งมีหลักอาชีพเป็นเกษตรกร เธอเป็นคนที่เคร่งเรื่องศาสนาเป็นอย่างมาก โดยที่ทุกวันเสาร์ เธอจะชอบไปสวดมนต์ที่โบสถ์แบร์มงต์ ใกล้กับเมืองเกรอซ์ เป็นประจำ

Thursday, January 22, 2015

เริ่มต้นสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา

          ผลที่ตามมาจากสงครามเจ็ดปีนั้นนอกจากจะทิ้งความสูญเสียไว้มากมายทั้งทางด้านประชาชน การเงิน กำลังทหารและกองทัพแล้ว สงครามเจ็ดปีนั้นยังคงทิ้งความขัดแย้งไว้ในพื้นที่ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เป็นต้นเรื่องอย่างอังกฤษ ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย หรือประเทศอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส อย่างสหรัฐอเมริกา ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ก็ได้รับผลกระทบมาเช่นกัน
         
          ในตอนแรกก่อนที่จะถูกค้นพบนั้น อเมริกามีชนเผ่าดั้งเดิมคืออินเดียนแดง มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืชพรรณนานาชนิด ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า ทองคำ 


แหล่งทรัพยากรต่างๆในอเมริกา
          แต่ในปีค.ศ.1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินเรือและค้นพบทวีปอเมริกาโดยบังเอิญ ทำให้บรรดาประเทศนักล่าอาณานิคมในยุโรปอย่างสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ เริ่มทยอยเข้ามารุกรานชาวพื้นเมืองดั้งเดิม และเข่นฆ่าพวกเขาเพื่อยึดดินแดน สเปนและโปรตุเกสไปปักธงที่ทางอเมริกาใต้ ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องทำการแย่งชิงพื้นทางเหนือแทน ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นอีกชนวนเหตุของสงครามเจ็ดปี 
          ชาวอังกฤษเริ่มทยอยอพยพไปสร้างอาณานิคมในอเมริกาเหนือตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 คนส่วนมากที่อพยพไปก็คือพวกชนชั้นล่างในสังคมที่เชื่อว่าจะสามารถไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่อเมริกาได้ แต่ก็มีพวกนายทุนรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนเพื่อกอบโกยผลประโยชน์อยู่เหมือนกัน

Saturday, January 17, 2015

สงครามเจ็ดปีคืออะไร?


            


            เคยได้ยินอาณาจักรที่ชื่อ ปรัสเซีย กันหรือเปล่า? หลายคนอาจงงว่าอะไรคือ"ปรัสเซีย" เขียนผิดหรือเปล่า รัสเซียไม่ใช่หรอ? จะบอกว่าไม่ได้เกี่ยวกันเลย ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ปรัสเซียคือเยอรมันเก่า ความสัมพันธ์ก็คงคล้ายๆธนบุรีกับรัตนโกสินทร์
            ในตอนแรกปรัสเซียเป็นแค่ดินแดนเล็กๆของขุนนางคนหนึ่ง แต่เพราะ สงครามเจ็ดปี ทำให้อาณาจักรเล็กๆอย่างปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรปพอๆกับฝรั่งเศสและออสเตรียในขณะนั้น(อาจจะยิ่งใหญ่กว่าฝรั่งเศสกับออสเตรียด้วยซ้ำไป)
            แล้ว สงครามเจ็ดปี คืออะไรอีกล่ะ? บทความนี้จะมอบความตอบของคำถามนั้นให้แก่คุณเอง



            สงครามเจ็ดปี(Seven Year’ War) เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1756-1763 นับเป็นสงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจในยุโรปที่ใหญ่ที่สุด คือ ฝั่งภาคีพันธมิตรอันประกอบด้วยออสเตรีย รัสเซีย ฝรั่งเศส กับฝั่งปรัสเซียและอังกฤษ 
ผู้ร่วมในสงคราเจ็ดปีทุกฝ่ายน้ำเงิน: บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, โปรตุเกต
พันธมิตรเขียว: ฝรั่งเศส, สเปน, ออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และพันธมิตร

            ในแคนาดา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คำว่า “สงครามเจ็ดปี” หมายถึงความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ ที่รวมทั้งความขัดแย้งในยุโรปและเอเชียด้วย ในสหรัฐอเมริกาสงครามส่วนที่เกิดขึ้นที่นั่นมักจะเป็นที่รู้จักกันว่า “สงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน” แต่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านในสหรัฐอเมริกาเช่นเฟรด แอนเดอร์สันเรียกสงครามนี้ตามที่เรียกกันในประเทศอื่นว่า “สงครามเจ็ดปี” ไม่ว่าสงครามจะเกิดขึ้นที่ใด ในควิเบคความขัดแย้งนี้บางครั้งก็เรียกว่า “La Guerre de la Conquête” ที่แปลว่า “สงครามแห่งการพิชิต” ส่วนในอินเดียก็เรียกว่า “สงครามคาร์เนติค” (Carnatic Wars) ขณะที่การต่อสู้ระหว่างปรัสเซียและออสเตรียเรียกว่า “สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3”

Thursday, January 15, 2015

การปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)

           
           Eh-eh-o eh-o I was left to my own devices พอได้ยินท่อนนี้ก็รู้เลยว่าคือเพลงอะไร แน่นอนค่ะเป็นเพลง Pompeii ของวง Bastille ที่ทุกคนน่าจะชอบและรู้จักกันดี พอพูดถึงคำว่า Bastille แล้ว นอกจากชื่อวงที่ได้มากจากวันเกิดของนักร้องนำทรงผมเฟี้ยวฟ้าวแล้ว ย่อมนึกถึงวันชาติฝรั่งเศส เอาหล่ะค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส แล้วเกี่ยวกับคำว่า Bastille อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ


            การปฏิวัติฝรั่งเศส Révolution française เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปที่ส่งผลต่อ การปกครองในหลายๆประเทศ โดยการปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1789 – 1799 โดยระบอบเก่าของฝรั่งเศสคือ ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถูกโค่นล้มโดนประชาชนชั้นกลาง

สาเหตุของการปฏิวัติ
            การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุสาหกรรม การใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยโดยราชสำนัก การใช้ค่าใช้จ่ายไปกับการทำสงครามในต่างประเทศ การรับอิทธิพลทางความคิดเรื่องระบอบการปกครองจากต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ผิดจุดเช่นการเพิ่มภาระภาษีให้กับฐานันดรที่ 3 แต่ยังคงละเว้นฐานันดรที่ 1 และ 2 ซึ่ง ฐานันดรที่ 1 คือ พระ ฐานันดรที่ 2 คือ ขุนนาง ฐานันดรที่ 3 คือประชาชนทั่วไป เพราะเหตุที่มีอภิสิทธิชนอย่างฐานันดร 1และ2 ทำให้เกิดความแตกต่างของชนชั้นเป็นอย่างมาก 

การปฏิวัติ
  ในปี ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดรขึ้น แต่เกิดปัญหาขึ้นพราะใช้ระบบนับคะแนนเป็นฐานันดร 1 ฐานันดร 1 เสียง แต่ไม่ยุติธรรม เพราะการลงคะแนนแบบนี้ทำให้ฐานันดรที่ 1 และ 2 เหนือกว่าฐานันดรที่ 3 จนมีข้อเสนอให้มีการนับคะแนนเป็น 1 คน 1 เสียง ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ กลุ่มฐานันดรที่ 3 ที่ไม่พอใจจึงเดินออกจากสภาและไปก่อตั้งสภาสมัชชาแห่งชาติขึ้นมา พระเจ้าหลุยส์เสนอว่าให้จัดการประชุมอีกครั้งในวันที่ 20 มิถุนายน แต่เหล่าสมัชชาแห่งชาติไม่เข้าร่วมด้วย แล้วไปจัดตั้งการประชุมของตนที่บริเวณใกล้เคียง คือ สนามเทนนิส ที่แท้จริงแล้วเป็นสนามแฮนด์บอล พวกเขาปฏิญาณตนว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญ หนึ่งในนั้นมีบุคคลที่ชื่อว่า มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์



            ต้นเดือนกรกฎาคม ทหาร 30,000 นาย ได้วางกองกำลังรอบกรุงปารีสจากคำสั่งของพระเจ้าหลุยส์ ประชาชนได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันชาติเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ก่อเหตุจลาจลแล้วปล้นอาวุธ พวกเขามีอาวุธ แต่ขาดดินปืน แน่นอนคือ คุก Bastille สถานที่เก็บดินปืน

สงครามแย่งชิงราชสมบัติออสเตรีย จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่สงครามเจ็ดปี

   
         จากการที่พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 6 (ค.ศ. 1685-1740) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และออสเตรียสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทำให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 มีดำริที่จะให้เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่า พระราชธิดาของพระองค์ครองราชย์ต่อ พระองค์ได้เตรียมการมานาน โดยให้การศึกษาแก่พระธิดาองค์นี้ และโปรดให้เขียนกฤษฎีกาอนุมัติกฎมณเทียรบาลฉบับพิเศษ ที่จะทำให้ธิดาคนโตสามารถสืบราชสมบัติต่อจากผู้เป็นพ่อได้
เจ้าหญิงมาเรียเทเรซ่า
         กษัตริย์หลายพระองค์ในยุโรปตอนเหนือก็เห็นด้วย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่พอใจ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 แห่งปรัสเซีย ที่คัดค้านอย่างรุนแรง จนนำมาซึ่งสงครามแย่งชิงราชสมบัติออสเตรีย
         ต่อมาพระนางมาเรีย เทเรซ่าได้อภิเษกกับเจ้าชายฟรานซิสแห่งลอร์แรน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1736 ในขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 19 พรรรษา หลังจากนั้น 4 ปี พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ได้เสร็จสวรรคต พระนางมาเรีย เทเรซ่าต้องการให้พระสวามีร่วมปกครองออสเตรียด้วย จะได้มีสิทธิ์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเเห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะมีคนอ้างสิทธิ์ในการขึ้นครองบัลลังก์แห่งออสเตรียซึ่งก็คือ เจ้าชายชาร์ลส์ อัลเบิร์ด แห่งบาวาเรีย จากการที่พระองค์ได้อภิเษกกับพระธิดาในจักรพรรดิโจเซฟที่ 1 (พระเชษฐาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6) โดยพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส
         ส่วนอีกด้านหนึ่งพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 แห่งปรัสเซียทรงเล็งเห็นแล้วว่าออสเตรียนั้นโดดเดี่ยวไร้พันธมิตร เพราะมีแต่คนจ้องหวังผลประโยชน์จากช่วงพลัดเปลี่ยนกษัตริย์ นำพันธมิตรบุกโจมตีไซลีเชียในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1740 และยึดได้ในปี ค.ศ.1741