Soldier In The Army With Sniper Rifle

Tuesday, February 3, 2015

สนธิสัญญาแวร์ซายส์

พระราชวังแวร์ซายส์
          หลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าร่วมประชุมกันที่พระราชวังแวร์ชายส์ ในฝรั่งเศส เมื่อเดือนมกราคม 1919 ประกอบด้วยประเทศผู้นำอย่าง บริเทนใหญ่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี และผู้แทนของชาติอื่นๆรวม 32 ชาติมาร่วมประชุมและร่างสนธิสัญญาสงบศึกขึ้น
การร่างสนธิสัญญาสงบศึก
         การเจรจาเริ่มขึ้นเมื่อวันที่  18 มกราคม 1919  ในอาคาร Salle de I'Horloge ของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มจากการประชุมจาก 26 ประเทศ จำนวน 70 คน โดยประเทศผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ไม่ได้รับการรับเชิญให้เข้าร่วม สหภาพโซเวียต(รัสเซีย)ก็ถูกห้ามไม่ให้มาด้วยเหมือนกัน เพราะความไม่มั่นคงทางการเมืองในขณะนั้น และได้เคยทำสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนีมาแล้วในปี 1917
          พอถึงเดือนมีนาคม 1919 บทบาทที่สำคัญที่สุดของการเจรจา ความซับซ้อนและเงื่อนไขอันยุ่งยากต่างๆก็อยู่ในการประชุมของ "สภาสิบ" ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญจาก 5 ประเทศผู้นำสัมพันธมิตร แต่เพราะความไม่เหมาะสมบางประการในการตัดสินใจของที่ประชุม ญี่ปุ่นจึงถอนตัว ตามด้วยอิตาลี จนเหลือเพียง สามมหาอำนาจ อย่าง สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอเมริกา
เนื่องจากแต่ละประเทศมีเป้าหมายที่แตกต่างกันทำให้กลายเป็น การประนีประนอมอย่างไม่มีสุข
ความต้องการที่แตกต่างกันก็คือ
          ฝรั่งเศสต้องการความมั่นคงปลอดภัยจากเยอรมนี จากการรบบนแนวรบด้านตะวันตก ทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียทหารไปราว 1.5 ล้านนาย และพลเรือนเกือบๆ 4 แสนคน นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส จอรจส์ คลูมองโซ อยากให้เยอรมนีเป็นอัมพาตทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งแสดงอย่างชัดเจนว่าเขาต้องการแก้แค้นเยอรมนี
จอรจส์ คลูมองโซ
          คำว่าอัมพาตของคลูมองโซนั้นก็ตรงตามตัว เขาต้องการให้กองทัพของเยอรมนีถูกทำให้อ่อนแอตลอดไป ไม่ใช่เพียงชั่วคราว จะได้ไม่สามารถรุกรานฝรั่งเศสได้อีก และยังต้องการให้มีการทำลายเครื่องหมายของลัทธินิยมทหารของจักรวรรดิเยอรมันเดิม ทั้งยังเรียกร้องให้ปิดล้อมทางทะเลเยอรมันต่อไป ซึ่งฝรั่งเศสจะได้ควบคุมสินค้าเข้า-ออกของประเทศที่แพ้สงครามได้ นอกจากเขานั้นยังปรารถนาที่จะเอาแคว้นอัลซาซ-ลอร์เรนกลับคืนมา หลังจากที่ต้องเสียไปเพราะแพ้สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อปี 1871 เผลอๆเขาก็เสนอให้แม่น้ำไรน์เป็นพรมแดนธรรมชาติติดกับเยอรมนี
พื้นที่สีแดง คือ อัลซาซ-ลอร์เรน ที่ฝรั่งเศสต้องการคืน
          อีกอย่างการเรียกค่าปฏิกรรมสงครามแพงมหาศาลจากเยอรมนีก็เป็นความคิดและความต้องการของคลูมองโซเช่นกัน เพื่อนำเงินนั้นมาฟื้นฟูความมั่งคั่งของประเทศที่อยู่ฝั่งเดียวกับตน และเห็นว่าการเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามนั้นจะทำให้เยอรมนีอ่อนแอลง ความต้องการมากมายของคลูมองโซนั้นรุนแรงมากเสียจนได้รับฉายาว่า "Tigre" (เสือ) 
          แต่ถึงอย่างนั้นฝ่ายอเมริกาที่กลายเป็นตัวแปรของสงครามครั้งนี้กลับมีมติสวนทางกับฝรั่งเศส(ความจริงสหราชอาณาจักรก็เห็นด้วยกับฝรั่งเศสนะ) เขาต้องการให้สงครามครั้งนี้ยุติลงโดยไม่มีผู้แพ้-ชนะ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน จึงเสนอหลักการสิบสี่ข้อ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                       1.
การเจรจาเรื่องสันติภาพทั้งหลาย ต้องเป็นไปโดยเปิดเผยและทั่วถึง
                       2.
ทุกประเทศมีเสรีภาพทางทะเล ไม่ว่าจะยามสงคราม หรือยามสงบ
                       3.
ล้มเลิกกำแพงเศรษฐกิจ
                       4.
ลดอาวุธลงมาให้เหลือเพียงเพื่อป้องกันตัวเอง
                       5.
ขอให้มีการตกลงกันด้วยความเป็นธรรม ในข้อพิพาทที่ว่าด้วยเรื่องประเทศราช และคำนึงถึงส่วน ได้เสียของประเทศที่เกี่ยวข้อง
                       6.
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาณาเขต ของรัสเซีย และให้การต้อนรับรัสเซียอย่างมิตร
                       7.
เบลเยี่ยม จะต้องได้รับการสถาปนาให้มีอิสระในดินแดนของตนเอง
                       8.
ไม่ก้าวก่ายอาณาเขตของฝรั่งเศส และคืนแคว้นลอร์เรนกับแคว้นอาลซาส ให้ฝรั่งเศส
                       9.
สำรวจเขตติดต่อของอิตาลีใหม่ โดยถือชนชาติของพลเมืองเป็นหลัก
                       10.
ให้พลเมืองออสเตรีย-ฮังการี่ มีอิสระในการเลือกสังกัดชาติใด
                       11.
ไม่ยุ่งกับอาณาเขตของโรมาเนีย เซอร์เบียร์ มอนตินิโกร และคืนดินแดนที่ยึดไว้ และอนุญาติให้ เซอร์เบียร์มีทางออกทางทะเลได้
                       12.
รัฐออตโตมาน หรือตุรกี จะต้องได้รับการเคารพ อย่างเต็มที่ ห้ามโอบอุ้มและควบคุม
                       13.
ตั้งโปรแลนด์ ให้เป็นรัฐอิสระ และมีทางออกทางทะเล
                       14.
จัดตั้งสันนิบาตชาติ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อแสวงหาสันติภาพ

         
แต่เพราะข้อเสนอนี้ไม่สามารถล้มเยอรมันและไม่ได้สร้างผลประโยชน์อะไรให้กับประเทศที่ร่วมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตรเลย จึงถูกปัดตกไป  ทางฝ่าย สัมพันธมิตร อันได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี เบลเยี่ยม ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือต้อง การลงโทษเยอรมัน จนเมื่อประธานาธิบดี วิลสัน กลับไปแล้ว ทั้งหมดจึงร่วมกันเสนอแก้ไขต่อที่ประชุม โดยการลด คณะมนตรีพิจารณาสนธิสัญญาสันติภาพลง จนเหลือเพียง 4 คน คือท่านประธานาธิบดี วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา นาย ลอด์ยยอร์ช แห่งอังกฤษ เคลมังโซ แแห่งฝรั่งเศส และ ออร์สันโด แห่งอิตาลี การดำเนินกุศโลบายเช่นนี้ก็เพื่อหักล้าง โครงการณื 14 ข้อ ของประธานาธิบดี วิลสัน และจัดการชั้นรุนแรงกับเยอรมันนั่นเอง  แต่คงเดาได้ไม่ยากว่าสนธิสัญญาสันติภาพจะออกมาในรูปแบบไหน ในเมื่อนโยบายของอังกฤษคือแก้แค้นเยอรมัน อิตาลีต้องการครอบ ครองดินแดนทางทะเลอาเดรียติค ฝรั่งเศสถึงกับต้องการล้มล้างชาติเยอรมันเลยทีเดียว ส่วนอเมริกาที่นำโดยนายวิลสันลำพังผู้เดียวนั้น ก็ยากที่จะดำเนินโครงการณ์ 14 ข้อ 
          ในที่สุด สนธิสัญญาสันติภาพก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น และเตรียมที่ยื่นข้อเสนอแห่งสัญญานี้ให้ เยอรมันรับทราบ สัญญาที่ได้กระทำขึ้นโดยปราศจากคู่สัญญา สัญญาแห่งสันติภาพ... สัญญารอการลงนามจากผู้แพ้โดยในตอนแรกนั้นทางอเมริกาก็ไม่พอใจ แต่จนแล้วจนรอดสัมพันธมิตรที่เหลือยื่นคำขาดให้เยอรมันยอมรับสนธิสัญญาแวร์ชายส์ได้
          ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญๆของสนธิสัญญาแวร์ชายส์ได้ดังนี้

                       1.
เยอรมนีต้องคืนมณฑลอัลซาซ-ลอร์เรนให้กับฝรั่งเศส
                       2. ดินแดนบางส่วนของเยอรมนีตะวันออก(ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์)ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดครอง
                       3. เยอรมนีต้องมอบวัสดุในการทำสงคราม กองทัพเรือ เรือรบใต้น้ำ คลอดจนเรือสินค้าให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
                       4. กำหนดให้เยอรมนีมีกำลังทหารได้ไม่เกิน 1 แสนคน
                       5. ห้ามเยอรมนีมีรถถัง เครื่องบิน และปืนขนาดใหญ่
                       6. การลงทุนเป็นเจ้าของดินแดนเยอรมนีในต่างแดนต้องถอนคืนโดยมอบให้ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น เข้าปกครองในนามของสันนิบาตชาติ
                       7. มลฑลเกียวเจาของจีน ให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าไปปกครองชั่วคราว
                       8. ให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดในสงคราม และให้เยอรมนีใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม
                       9. ห้ามเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติ

                       10. ประเทศโปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และฟินแลนด์ได้รับเอกราช

          โดยประเด็นที่ทำให้เยอรมนีไม่พอใจมากที่สุดก็คือ สัญญาข้อที่ 231 ซึ่งระบุว่า สงครามเกิดขึ้นเนื่องจากเยอรมนีเป็นฝ่ายบุกรุก ซึ่งการยกความผิดให้ตกแก่เยอรมนีฝ่ายเดียวนั้นทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสงครามครั้งนี้ ซึ่งผลก็คือการบีบบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในอัตราปีละ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงปี  1921 แล้วจึงจะมีการตกลงกันใหม่อีกครั้ง

          และเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมา เพราะชาวเยอรมนีไม่สามารถอดทนกับการกดขี่ข่มเหงได้อีกต่อไป

Cr.บ้านจอมยุทธ


No comments:

Post a Comment