Soldier In The Army With Sniper Rifle

Thursday, February 5, 2015

สงครามครูเสด


          ในชั่งโมงเรียนประวัติศาสตร์สากลที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสงครามหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่าสงครามศาสนา แล้วพอเห็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามนี้เรานี่ร้อง "อู้หู!" เลย อะไรมันจะนานขนาดนั้น เกือบสามร้อยปีเชียวนะ ไม่ธรรมดาซะแล้ว หลายคนคงแอบเดาได้ เพราะถือว่าเป็นสงครามที่ดังมากเลยทีเดียวเชียว แต่บางคนก็ยังเดาไม่ถูก แล้วอยากรู้หรือเปล่าล่ะ? ว่าสงครามที่ว่านี่คือสงครามอะไร ถ้าอยากรู้ก็อ่านต่อไปได้เลย


          สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งนั้นก็คือสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ ซึ่งสงครามนี้เกิดในสถานที่สำคัญของศาสนาคริสต์ อิสลาม ยูได ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
แผนที่เมืองสำคัญในสงครามครูเสด

แผนที่การเดินทัพในสงครามครูเสดครั้งแรก
          "สงครามครูเสด" มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนาหรือสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
“ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์”
          ซึ่งดูเป็นความเชื่อที่ดูโหดร้ายในสายตาชาวพุทธอย่างเรา ที่ถูกสอนอยู่เสมอว่า "การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป" แต่ความเชื่อของพวกเขาตอนนั้นเป็นแบบนั้นจริงๆ บางทีตอนนี้อาจจะมีความเชื่อนั้นอยู่ก็ได้ แต่ในรูปแบบอื่น อย่างเช่น การฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ถูกไม่บาป ในสมัยรัฐบาลไทยสมัยหนึ่ง
           ส่วนสาเหตุของความขัดแย้งของทั้ง 2 ศาสนาจนนำมาซึ่งสงครามครูเสดก็คือ
                    1 สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก เพื่อที่จะได้มีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งโดยการนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
ดินแดนศักดิ์สิทธิ์หรือคานาอัน ที่ชาวคริสต์และมุสลิมปะทะกัน
                    2 ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็ม
นครเยรูซาเล็ม
                    3 ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พระสันตะปาปา  มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิม
                    4 มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา ชาวคริสต์จึงทำสงครามเพื่อหยุดยั้งความเจริญของชาวมุสลิม
                    5 สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย โดยรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ (Frank ) และนอร์แมน ( Norman )

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด 
          หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ ซึ่งบางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน 
          เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ แ
          ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนก จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
          แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญ พวกทาสต้องการอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก และในช่วงนั้นตรงกับสมัยที่อำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน
          พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด แต่เกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันทีเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า
          “ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

          ปรากฏว่ารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นคำพูดเท็จเกือบทั้งหมด กองทัพที่เดินทางไปทำสงครามนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน 
          กองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้านและตายอยู่กลางทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ทำให้ชาวยุโรปเกลียดและมีความแค้นต่อชาวมุสลิมมากขึ้น
          สงครามครูเสดเกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส  ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี


          ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าๆจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า
          ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ 
          สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ไป
          ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้
          สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์     หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินในค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ 


          หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ โดยที่เมื่อทหารครูเสดพยายามมาสู้เพื่อเอาเมืองคืนก็ต้อองพ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง 

1 comment:

  1. ภาพประกอบสวยงามมากครับ :)

    ReplyDelete