สงครามดอกกุหลาบ สงครามแห่งการชิงบัลลังก์ เพื่อแย่งชิงความยิ่งใหญ่เหนือสุดในดินแดนอังกฤษ โดยสองราชวงศ์ สองสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล สองดอกกุหลาบ สงครามครั้งนี้จะเป็นอย่างไร เชิญติดตามกันเลยค่ะ
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 |
เฮนรีแห่งโบลิงโบรค (ทรงราชย์ปีค.ศ. 1399, หรือพระเจ้าเฮนรีที่ 4) เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ พระองค์ทรงปลดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 จากการเป็นพระมหากษัตริย์ ด้วยสาเหตุที่ว่าการปกครองของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ทำให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ในหมู่ขุนนางโดยทั่วไป พระเจ้าเฮนรีที่ 4 และพระราชโอรสพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ทรงสามารถปกครองอังกฤษได้โดยไม่มีปัญหาโดยเฉพาะในด้านการใช้กำลังทหาร แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคต พระเจ้าเฮนรีที่ 6รัชทายาทของพระองค์ก็ยังทรงเป็นทารกและทรงเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่พระสุขภาพทางจิตไม่ใคร่ปกตินัก ทำให้พระองค์ทรงถูกปกครองภายใต้อิทธิพลของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีแต่เรื่องทะเลาะกัน
ความไม่มีสมรรถภาพในการครองราชบัลลังก์เป็นการเปิดโอกาสให้ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระโอรสองค์ที่สองและสี่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ซึ่งนั่นก็คือไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พ ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นผู้มีความสามารถในด้านการบริหารในการที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ของราชอาณาจักร ดยุคแห่งยอร์คได้ทำการโต้เถียงกับบุคคลสำคัญของตระกูลแลงคาสเตอร์ในราชสำนักต่อหน้าพระราชินีมาร์กาเร็ตในสมเด็จพระเจ้าเฮนรี
แผนผังราชวงศ์ |
เมื่อดยุคแห่งยอร์คนำทัพมาปราบก็ถูกสังหารในปลายปีค.ศ. 1460 กองทัพฝ่ายแลงคาสเตอร์จึงเดินทัพลงมายังลอนดอนและจับพระเจ้าเฮนรีได้อีกครั้งในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) แต่ก็ไม่สามารถยึดลอนดอนได้จนต้องถอยกลับไปทางเหนือ
ต่อมาบุตรคนโตของดยุคแห่งยอร์คประกาศตัวเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และทรงรวบรวมกองกำลังฝ่ายยอร์คกลับมาและทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดใน ยุทธการโทว์ทัน (Battle of Towton)
เมื่อต้นปี ค.ศ. 1461 หลังจากนั้นการต่อต้านของฝ่ายแลงคาสเตอร์ก็ยังมีอยู่ประปรายและการถูกจับตัวของพระเจ้าเฮนรี่ในปีค.ศ.1464 ซึ่งทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงมีความบาดหมางกับผู้สนับสนุนของพระองค์และเอิร์ลแห่งวอริค ผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
และยังทรงห่างเหินกับพระสหายและแม้แต่พระญาติพระวงศ์ของพระองค์เอง โดยทรงหันไปให้การสนับสนุนสมาชิกจากพระญาติพระวงศ์ของพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ทรงเสกสมรสด้วยอย่างลับๆ
เอิร์ลแห่งวอริคพยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการยกพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 ขึ้นแทน แต่ต่อมาก็หันไปยกพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี ค.ศ. 1471 (เอิร์ลแห่งวอริคและเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์เสียชีวิตในสนามรบและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงถูกสังหารทันที)
หลังจากนั้นบ้านเมืองก็สงบอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันในปี ค.ศ. 1483
พระอนุชาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ผู้ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ และพระองค์ก็ทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 โดยกล่าวหาความถูกต้องของการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นข้ออ้าง ทำให้เกิดความไม่สงบในหลายๆแห่งของอังกฤษ เพราะประชสชนหลายคนสงสับว่าพระองค์ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และ พระอนุชาหรือเจ้าชายในหอคอยลอนดอน
ค.ศ.1485 เฮนรี ทิวดอร์ผู้เป็นพระญาติห่างๆ ทางสายแลงคาสเตอร์ผู้อ้างในสิทธิในราชบัลลังก์ ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ในยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์
ค.ศ. 1487 ทางฝ่ายยอร์คก็ลุกขึ้นต่อต้าน ทำให้ผู้สืบสายของฝ่ายยอร์คจะถูกคุมขังเป็นจำนวนมากแต่การต่อต้านก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ประปรายจนกระทั่งเพอร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) ผู้อ้างสิทธิฝ่ายยอร์คถูกสังหารปี ค.ศ. 1499
บทสรุปของสงครามนี้คือ เกิดราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ทิวดอร์ที่เกิดจากการรวมราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสระหว่างเฮนรี ทิวดอร์และพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก สงครามครั้งคราชีวิตของพวกขุนนางไปมาก ทำให้อำนาจของกลุ่มขุนนางน้อยลงและกลุ่มพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้น การปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์ก็เป็นการทำให้ระบบกษัตริย์แข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน นับเป็นจุดจบของยุคกลางและขึ้นต้นเป็นยุค Renaissance
ตราราชวงศ์ |
No comments:
Post a Comment