Soldier In The Army With Sniper Rifle

Saturday, February 7, 2015

จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2

            หากถามถึงสงครามที่เกิดความสูญเสียมากที่สุด คำตอบก็คงไม่พ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ Second World War แน่นอน เพราะนับว่าเป็นสงครามที่มีชาติต่างๆเข้าร่วมมากที่สุด มีการวางแผนการและยุทธการรบที่ทำให้มีคนตายในสมรภูมิหนึ่งไม่น้อย มีการพัฒนาอาวุธประสิทธิภาพรุนแรงจนสามารถทำลายเมืองๆหนึ่งให้หายไปในพริบตาเดียว จุดเริ่มต้นของความรุนแรงทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวนี่ก็มาจาก...
            
            สงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II) เป็นสงครามที่เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ โดยแบ่งประเทศที่เข้าร่วมได้เป็น

            1 ฝ่ายอักษะ Axis Powers ประกอบไปด้วยสามาชิคหลักคือ นาซีเยอรมัน ที่มีผู้นำคือ Adolf Hitler อิตาลี ที่มีผู้นำคือ Benito Mussolini และ ญี่ปุ่น ที่มีผู้นำคือ จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ



Mussolini และ Hitler


จักรพรรดิ ฮิโระฮิโตะ


            2 ฝ่ายสัมพันธมิตร มีแกนนำหลักคือ สหราชอาณาจักร มีผู้นำในสงครามคือ Winston Churchill สหรัฐอเมริกา มีผู้นำคือ Franklin Delano Roosevelt และ สหภาพโซเวียต ที่มี Joseph Stalin เป็นผู้นำ

Churchill Roosevevelt และ Stalin


สาเหตุ
            เยอรมนีไม่ยอมทนต่อสนธิสัญญาแวร์ไซน์ ที่เยอรมันต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจก็โดนผลกระทบ เพราะในตอนนั้นค่าเงินของเยอรมนีถูกกดลงจนมีค่าเพียง 4,000,000,000 มาร์ก = 1 USD กำลังทหารและอาวุธก็โดนควบคุมจำนวนจนเหลือเพียงน้อยนิด
            ฮิตเลอร์จึงได้เปิดสงครามเพื่อการขยายพื้นที่เลี้ยงชีพของชาวเยอรมันแท้ หรือที่เรียกว่า อารยัน นั้นเอง

Thursday, February 5, 2015

สงครามครูเสด


          ในชั่งโมงเรียนประวัติศาสตร์สากลที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสงครามหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่าสงครามศาสนา แล้วพอเห็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามนี้เรานี่ร้อง "อู้หู!" เลย อะไรมันจะนานขนาดนั้น เกือบสามร้อยปีเชียวนะ ไม่ธรรมดาซะแล้ว หลายคนคงแอบเดาได้ เพราะถือว่าเป็นสงครามที่ดังมากเลยทีเดียวเชียว แต่บางคนก็ยังเดาไม่ถูก แล้วอยากรู้หรือเปล่าล่ะ? ว่าสงครามที่ว่านี่คือสงครามอะไร ถ้าอยากรู้ก็อ่านต่อไปได้เลย


          สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งนั้นก็คือสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ ซึ่งสงครามนี้เกิดในสถานที่สำคัญของศาสนาคริสต์ อิสลาม ยูได ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
แผนที่เมืองสำคัญในสงครามครูเสด

แผนที่การเดินทัพในสงครามครูเสดครั้งแรก
          "สงครามครูเสด" มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนาหรือสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
“ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์”
          ซึ่งดูเป็นความเชื่อที่ดูโหดร้ายในสายตาชาวพุทธอย่างเรา ที่ถูกสอนอยู่เสมอว่า "การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป" แต่ความเชื่อของพวกเขาตอนนั้นเป็นแบบนั้นจริงๆ บางทีตอนนี้อาจจะมีความเชื่อนั้นอยู่ก็ได้ แต่ในรูปแบบอื่น อย่างเช่น การฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ถูกไม่บาป ในสมัยรัฐบาลไทยสมัยหนึ่ง
           ส่วนสาเหตุของความขัดแย้งของทั้ง 2 ศาสนาจนนำมาซึ่งสงครามครูเสดก็คือ
                    1 สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก เพื่อที่จะได้มีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งโดยการนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม
ดินแดนศักดิ์สิทธิ์หรือคานาอัน ที่ชาวคริสต์และมุสลิมปะทะกัน
                    2 ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็ม
นครเยรูซาเล็ม
                    3 ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พระสันตะปาปา  มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิม
                    4 มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา ชาวคริสต์จึงทำสงครามเพื่อหยุดยั้งความเจริญของชาวมุสลิม
                    5 สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย โดยรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ (Frank ) และนอร์แมน ( Norman )

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด 
          หลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ ซึ่งบางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน 
          เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์ ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ แ
          ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนก จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด
          แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญ พวกทาสต้องการอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก และในช่วงนั้นตรงกับสมัยที่อำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน
          พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด แต่เกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันทีเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า
          “ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

          ปรากฏว่ารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นคำพูดเท็จเกือบทั้งหมด กองทัพที่เดินทางไปทำสงครามนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน 
          กองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้านและตายอยู่กลางทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ทำให้ชาวยุโรปเกลียดและมีความแค้นต่อชาวมุสลิมมากขึ้น
          สงครามครูเสดเกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส  ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี


          ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าๆจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า
          ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ 
          สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ไป
          ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้
          สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์     หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินในค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ 


          หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ โดยที่เมื่อทหารครูเสดพยายามมาสู้เพื่อเอาเมืองคืนก็ต้อองพ่ายแพ้กลับไปทุกครั้ง 

สงครามดอกกุหลาบ


         สงครามดอกกุหลาบ สงครามแห่งการชิงบัลลังก์ เพื่อแย่งชิงความยิ่งใหญ่เหนือสุดในดินแดนอังกฤษ โดยสองราชวงศ์ สองสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล สองดอกกุหลาบ สงครามครั้งนี้จะเป็นอย่างไร เชิญติดตามกันเลยค่ะ


          สงครามดอกกุหลาบ (Wars of The Rose) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ค เพื่อจะได้เป็นกษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งความจริงแล้วราชวงศ์ทั้งสองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท) โดยสงครามนี้เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1453-1487ถึงแม้ว่าอาจจะมีการสู้รบกันก่อนหรือหลังจากนี้บ้างเป็นบางครั้ง


พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3

          เฮนรีแห่งโบลิงโบรค (ทรงราชย์ปีค.ศ. 1399, หรือพระเจ้าเฮนรีที่ 4)  เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ พระองค์ทรงปลดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 จากการเป็นพระมหากษัตริย์ ด้วยสาเหตุที่ว่าการปกครองของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ทำให้เกิดความเป็นปฏิปักษ์ในหมู่ขุนนางโดยทั่วไป พระเจ้าเฮนรีที่ 4 และพระราชโอรสพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ทรงสามารถปกครองอังกฤษได้โดยไม่มีปัญหาโดยเฉพาะในด้านการใช้กำลังทหาร แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 5 เสด็จสวรรคต พระเจ้าเฮนรีที่ 6รัชทายาทของพระองค์ก็ยังทรงเป็นทารกและทรงเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่พระสุขภาพทางจิตไม่ใคร่ปกตินัก ทำให้พระองค์ทรงถูกปกครองภายใต้อิทธิพลของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีแต่เรื่องทะเลาะกัน
          ความไม่มีสมรรถภาพในการครองราชบัลลังก์เป็นการเปิดโอกาสให้ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระโอรสองค์ที่สองและสี่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ซึ่งนั่นก็คือไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พ ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นผู้มีความสามารถในด้านการบริหารในการที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ของราชอาณาจักร ดยุคแห่งยอร์คได้ทำการโต้เถียงกับบุคคลสำคัญของตระกูลแลงคาสเตอร์ในราชสำนักต่อหน้าพระราชินีมาร์กาเร็ตในสมเด็จพระเจ้าเฮนรี
แผนผังราชวงศ์   
          การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1455 ในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 >>> ผู้นำคนสำคัญๆของฝ่ายแลงคาสเตอร์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกแลงคาสเตอร์ที่ยังมีชีวิตรอดก็มีความแค้นต่อริชาร์ดมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการสงบสุขกันอยู่ระยะหนึ่งแต่พระราชินีมาร์กาเร็ตก็ยังทรงยุให้ฝ่ายแลงคาสเตอร์ท้าอิทธิพลและอำนาจของฝ่ายยอร์ค



          การต่อสู้เริ่มขึ้นอย่างรุนแรงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1459 ฝ่ายยอร์คเสียเปรียบจนต้องหนีออกจากประเทศแต่ต่อมา ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 นำทัพเข้ามารุกรานอังกฤษจากทางคาเลส์และจับพระเจ้าเฮนรีได้ในยุทธการนอร์ทแธมตัน ทำให้ดยุคแห่งยอร์คจึงกลับอังกฤษและปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษและได้ขึ้นปกครองเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษอย่างเต็มตัว  ทำให้พระราชินีมาร์กาเร็ตและขุนนางแลงคาสเตอร์ไปรวมตัวกันทางเหนือของอังกฤษ
          เมื่อดยุคแห่งยอร์คนำทัพมาปราบก็ถูกสังหารในปลายปีค.ศ. 1460 กองทัพฝ่ายแลงคาสเตอร์จึงเดินทัพลงมายังลอนดอนและจับพระเจ้าเฮนรีได้อีกครั้งในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) แต่ก็ไม่สามารถยึดลอนดอนได้จนต้องถอยกลับไปทางเหนือ
          ต่อมาบุตรคนโตของดยุคแห่งยอร์คประกาศตัวเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และทรงรวบรวมกองกำลังฝ่ายยอร์คกลับมาและทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดใน ยุทธการโทว์ทัน (Battle of Towton)
          เมื่อต้นปี ค.ศ. 1461 หลังจากนั้นการต่อต้านของฝ่ายแลงคาสเตอร์ก็ยังมีอยู่ประปรายและการถูกจับตัวของพระเจ้าเฮนรี่ในปีค.ศ.1464 ซึ่งทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงมีความบาดหมางกับผู้สนับสนุนของพระองค์และเอิร์ลแห่งวอริค ผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
          และยังทรงห่างเหินกับพระสหายและแม้แต่พระญาติพระวงศ์ของพระองค์เอง โดยทรงหันไปให้การสนับสนุนสมาชิกจากพระญาติพระวงศ์ของพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ทรงเสกสมรสด้วยอย่างลับๆ
          เอิร์ลแห่งวอริคพยายามโค่นราชบัลลังก์โดยการยกพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด จอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 ขึ้นแทน แต่ต่อมาก็หันไปยกพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้เป็นระยะเวลาสองปีก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะทรงยึดราชบัลลังก์คืนได้ในปี ค.ศ. 1471 (เอิร์ลแห่งวอริคและเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์เสียชีวิตในสนามรบและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงถูกสังหารทันที)
          หลังจากนั้นบ้านเมืองก็สงบอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันในปี ค.ศ. 1483
          พระอนุชาริชาร์ดดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็พยายามยับยั้งตระกูลวูดวิลล์และพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ในการมีอำนาจในการปกครองแทนพระราชโอรสของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ผู้ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ และพระองค์ก็ทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของตนเองและทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 โดยกล่าวหาความถูกต้องของการสมรสของเอลิซาเบธ วูดวิลล์กับพระเชษฐาเป็นข้ออ้าง  ทำให้เกิดความไม่สงบในหลายๆแห่งของอังกฤษ เพราะประชสชนหลายคนสงสับว่าพระองค์ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และ พระอนุชาหรือเจ้าชายในหอคอยลอนดอน
          ค.ศ.1485 เฮนรี ทิวดอร์ผู้เป็นพระญาติห่างๆ ทางสายแลงคาสเตอร์ผู้อ้างในสิทธิในราชบัลลังก์ ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าริชาร์ดและสังหารพระองค์ได้ในยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์
          ค.ศ. 1487 ทางฝ่ายยอร์คก็ลุกขึ้นต่อต้าน ทำให้ผู้สืบสายของฝ่ายยอร์คจะถูกคุมขังเป็นจำนวนมากแต่การต่อต้านก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ประปรายจนกระทั่งเพอร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) ผู้อ้างสิทธิฝ่ายยอร์คถูกสังหารปี ค.ศ. 1499

          บทสรุปของสงครามนี้คือ เกิดราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ทิวดอร์ที่เกิดจากการรวมราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสระหว่างเฮนรี ทิวดอร์และพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก สงครามครั้งคราชีวิตของพวกขุนนางไปมาก ทำให้อำนาจของกลุ่มขุนนางน้อยลงและกลุ่มพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้น การปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์ก็เป็นการทำให้ระบบกษัตริย์แข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน นับเป็นจุดจบของยุคกลางและขึ้นต้นเป็นยุค Renaissance


ตราราชวงศ์

สงครามนโปเลียน Napoleonic Wars




            เวลามีคนลงมุขฮาๆเกรียนๆเกี่ยวกับการตอบคำตอบในข้อสอบข้อเขียน เรามักจะเห็นคำถามว่า “สงครามครั้งนโปเลียน คือที่ไหน” มันก็จะมีคำตอบว่า “ก็สงครามที่เขาตาย” ในวันนี้นะคะ เราจะมาพูดถึง สงครามนโปเลียนกันดีกว่าคะ จะได้คำตอบชัดๆจริงๆกันไปเลยว่าสงครามครั้งสุดท้ายของเขาคือครั้งไหนที่ไหนกันคะ
          ก่อนอื่นเลยนะคะ สงครามนโปเลียนนี้เป็นผลต่อเนื่องจาก ปฏิวัติฝรั่งเศส ถ้ายังไม่เคยอ่านเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ไปลองอ่านของบล็อกนี้ได้เลยนะคะ //แอบโปรโมต

นโปเลียนคือใคร?
          Napoléon Bonaparte คือ นายพลในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และได้ดำรงตำแหน่งเป็นกงสุลใหญ่ จนกระทั่งได้เป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส


สงคราม

The First Coalition 1792-1795

          เพราะการปฏิวัติ ออสเตรียจึงเป็นห่วงพระนางมารีอังตัวเน็ต พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ดังนั้นออสเตรียจึงเข้ารวมกับปรัสเซียในการต่อสู้กับฝรั่งเศส

The Second Coalition 1798-1801                              

          เพราะความเก่งของนโปเลียน Directory จึงส่งเขาไปที่อียิปต์ ซึ่งถ้าเกิดว่าฝรั่งเศสสามารถยึดฝั่งตะวันออกกลางได้ ก็จะเป็นการตัดเส้นทางไปสู่อินเดียซึ่งจะส่งผลต่ออังกฤษ  ในเดือนสิงหาคม ได้เกิดสงครามแม่น้ำไนล์ขึ้น ไปๆมาๆ นโปเลียนก็กลับไปฝรั่งเศส

The Third Coalition

          ทั้ง อังกฤษ รัสเซีย ออสเตรีย สวีเดน และบางรัฐของเยอรมัน ได้รวมกันต่อสู่กับฝรั่งเศสในสมัยที่นโปเลียนได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส ในช่วงนี้เกดิยุทธการที่สำคัญที่ Trafalga

The Fifth Coalition

          เป็นสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษและออสเตรีย

The sixth Coalition

          ฝรั่งเศสบุกเข้าโจมตีรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายไปเพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็น



          สุดท้ายนโปเลียนที่พ่ายแพ้ในสงครามที่วอร์เตอร์ลูก็ถูกส่งตัวไปเกาะ St. Helena และนักประวัติศาสตร์ก็ได้มีการถกเถียงประเด็นสาเหตุการณ์ตายของนโปเลียน ซึ่งได้บอกกันว่าเป็นมะเร็งกระเพราะอาหาร บางท่านได้กล่าวว่าเป็นเพราะโดนวางยาเป็นสารหนู บางท่านก็บอกว่าเป็นเพราะอาหารทะเลที่ท่านเสวยเพราะท่านต้องอยู่บนเกาะ อาหารทะเลยอาจจะมีสารหนูก็เป็นได้

Wednesday, February 4, 2015

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

          ในตอนนี้ประเทศเยอรมนีกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว พัฒนาการทางด้านต่างๆก็เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ก็ต้องผ่านความยากลำบากมาเหมือนกัน พวกเขาผ่านความเจ็บปวดและสูญเสียมามากมาย เป็นเหมือนแผลเป็นที่ไม่อาจลบเลือนได้ ทำได้เพียงนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน และเรียนรู้ที่จะไม่ก้าวพลาดเหมือนอย่างในอดีตอีก อดีตที่ว่านั้นก็คือการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในสงครามโลกครั้งที่1 ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง

          สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้นใน ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดใน ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 กลุ่ม ก็คือ
                    กลุ่มไตรภาคี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี 
                    กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย      
         โดยชนวนของสงครามครั้งนี้คือการลอบปลงพระชนม์ดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินาน มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี กับพระชายาเคาน์เตส โซเฟีย โชเทกซ์ ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 ที่เมืองซาราเจโว เมืองหลวงของประเทศบอสเนีย ของนายกาฟริโล พรินซิป ซึ่งเป็นนักศึกษาชาวบอสเนีย สัญชาติเซอร์เบีย จากเหตุการณ์นี้ จึงทำให้ ออสเตรีย - ฮังการี ทำการประกาศสงครามกับ เซอร์เบีย
ดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์
          แต่นั้นก็เป็นแค่ชนวนเหตุของสงคราม ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงของสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุจริงๆของสงครามครั้งนี้ก็คือ
                    1. ลัทธิชาตินิยม : ใน ค.ศ. 1870 บิสมาร์กได้ดำเนินกุศโลบายจนเกิดสงครามฝรั่งเศส – ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) จากนั้นได้พยายามดำเนินนโยบายการโดดเดี่ยวกับฝรั่งเศส และปรัสเซียเป็นฝ่าย     ชนะ ฝรั่งเศสจึงต้องยอมสูญเสียแคว้น อัลซาสและลอร์เรนให้แก่ปรัสเซีย
                    2. ลัทธิจักรวรรดินิยม : เพราะเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศต่าง ๆ แสวงหาตลาดในการระบายสินค้าและแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมจึงก่อให้เกิด ความขัดแย้งกันทางด้านผลประโยชน์
                    3. การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป : เนื่องจากมหาอำนาจยุโรปมีความขัดแย้งกัน จึงจำเป็นต้องมีพัประเทศพันธมิตรไว้เป็นพวกทำให้ ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้คือ มหาอำนาจกลางและสัมพันธมิตร
                    4. ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน : สาเหตุของปัญหาเกิดจากการพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลระหว่างออสเตรีย – ฮังการี กับรัสเซียโดยรัสเซียต้องการใช้คาบสมุทรบอลข่านเป็นทางออกสู่ทะเลทางใต้ของตนและ ต้องการขึ้นเป็นผู้นำของชนชาติสลาฟ (Slav) ในคาบสมุทรบอลข่านอันมีเชื้อสายเดียวกับรัสเซีย


Tuesday, February 3, 2015

สนธิสัญญาแวร์ซายส์

พระราชวังแวร์ซายส์
          หลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าร่วมประชุมกันที่พระราชวังแวร์ชายส์ ในฝรั่งเศส เมื่อเดือนมกราคม 1919 ประกอบด้วยประเทศผู้นำอย่าง บริเทนใหญ่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี และผู้แทนของชาติอื่นๆรวม 32 ชาติมาร่วมประชุมและร่างสนธิสัญญาสงบศึกขึ้น
การร่างสนธิสัญญาสงบศึก
         การเจรจาเริ่มขึ้นเมื่อวันที่  18 มกราคม 1919  ในอาคาร Salle de I'Horloge ของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มจากการประชุมจาก 26 ประเทศ จำนวน 70 คน โดยประเทศผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ไม่ได้รับการรับเชิญให้เข้าร่วม สหภาพโซเวียต(รัสเซีย)ก็ถูกห้ามไม่ให้มาด้วยเหมือนกัน เพราะความไม่มั่นคงทางการเมืองในขณะนั้น และได้เคยทำสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนีมาแล้วในปี 1917

Operation Barbarossa ยุทธการบาร์บารอสซา



          Operation Barbarossa ยุทธการยึดสหภาพโซเวียต ยุทธการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ยุทธการที่โลกจะไม่ลืมเลือน



          ปฏิบัติการ Barbarossa มีที่มาจาก Friedrich Barbarossa จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) โดยกองทัพของนาซีเยอรมันบุกไปยึดรัศเซียเพื่อขยายพื้นที่ในการดำรงชีวิตของชาวอารยัน หรือ เยอรมันแท้


ปฏิบัติการนี้เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1941 กองทัพเยอรมันได้แบ่งไปสามทัพ คือ
1 ไปทางเลนินกราด ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น เซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก
2 ไปทางมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย
3 ไปทางสตาลินกราด แหล่งน้ำมันเชื่อเพลิงสำคัญของรถถัง ที่ตั้งชื่อตาม Joseph Stalin ผู้นำของสหภาพโซเวีตยที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียโดยแท้ แต่เป็นชาวจอร์เจีย แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นโวลโกกราด จากชื่อแม่น้ำที่ยาวที่สุดในยุโรปนั่นก็คือ แม่น้ำโวลกา


          กองทัพนาซีเยอรมันได้ใช้ยุทธวิธี Biltzkrieg หรือที่เรารู้จักกันดีว่า ยุทธวิธีสายฟ้าแลบ ที่ทำให้เยอรมันนีสามารถยึดทั้งโปแลนด์ ฝรั่งเศสได้ และยุทธวิธีนี้แหละที่ทำให้สามารถยึดประเทศต่างๆมาได้  โดยโจมตีอย่างรวดเร็วและทำให้ศัตรูไม่ทันตั้งตัว


          ในตอนต้นๆ Hitler มั่นใจมากว่าจะจบศึกครั้งนี้ได้โดยเร็วเสร็จก่อนฤดูหนาว แต่สุดท้ายแล้ว การที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของรัสเซียมากพอนั้นก็ส่งผลให้กำลังทหารที่เหนื่อยอ่อน ไม่ได้เปลี่ยนกองกำลัง จากฝุ่นที่คละคลุ้ง เจอฤดูฝนจนกลายเป็นโคลนทำให้กุญแจสำคัญอย่างรถถีงพัง ซ้ำยังพอถึงฤดูหนาวก็ไม่มีเสื้อกันหนาวใส่ ที่รัสเซียในปีนั้นก็เป็นปีที่หนาวมากๆด้วย ถึงขนาดติดลบ 30 องสา และกองทัพแดงที่ยิ่งหนาวยิ่งแข็งแกร่งของรัสเซียก็ย่อมเข้าใจสภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งสถานที่ของตนได้ดีกว่า อย่างตอนที่ใช้ยุทธวิธีซุ่มยิงแบบกองโจรตอนรบในเมืองสตาลินกราด
          จนสุดท้าย เยอรมันที่เคยยิ่งใหญ่ในตอนต้นของสงครามก็ต้องพ่ายแพ้ไป

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งชาติพันธุ์นะคะ


นาซี ได้แบ่งมนุษย์ออกให้ชาวอารยัน ตาฟ้า ผมบลอนด์ ตัวสูง เป็นพวกที่สูงที่สุดประเสริฐที่สุด และพวกที่ต่ำที่สุดคือ ยิว สลาฟ ยิปซี รวมถึงชาวโปล ชาวเซิร์บ ถูกจัดให้เป็นพวกต่ำกว่ามนุษย์ โดยมีชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Untermenschen หรือที่เรียกว่า Inferior Human ต้องถูกกำจัดออก (ถึงแม้ Hitler จะสังหารชาวยิวนับหลายชีวิต แต่เขาก็เว้นชีวิตของแพทย์ชาวยิวผู้หนึ่งที่รักษาครอบครัวของเขา)

Monday, February 2, 2015

ที่มาของชื่อ สงครามดอกกุหลาบ

          “สงครามดอกกุหลาบ” เชื่อกันว่าที่มาของชื่อนั้นมาจากตราประจำพระราชวงศ์ทั้งสอง กุหลาบแดงแห่งแลงคาสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามดอกกุหลาบมานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสือชื่อ “แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์” (Anne of Geierstein) 

ตรากุหลาบแดง และกุหลาบขาว

หนังสือ "แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์"
          บางครั้งผู้เข้าร่วมสงครามก็จะใช้ตราดอกกุหลาบนี้ระหว่างสงคราม แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะติดตราของเจ้าของที่ดินผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายความว่า เจ้าของที่ดินให้คำสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำมาหากินในที่ดิน (ระบบนี้ไม่ได้เป็นทางการมากนัก) การขยายตัวของระบบนึ้ทำให้การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมโทรมลงและเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามนี้ขึ้น 

P.s.สัญลักษณ์ที่ใช้ในสงคราม
-กองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ที่บอสเวิร์ธใช้ธงมังกรแดง 
-กองกำลังยอร์คใช้สัญลักษณ์หมีขาว 


         
          ในสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามได้ยุติลงเรียบร้อย พระองค์ทรงรวมดอกกุหลาบแดงและขาวเป็นดอกกุหลาบแดงขาวดอกเดียวที่เรียกว่า “กุหลาบทิวดอร์” (Tudor Rose)


ตราประราชวงศ์
          ชื่อของทั้งสองราชวงศ์ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเลยกับเมืองยอร์คและเมืองแลงคาสเตอร์ ตามข้อเท็จจริงแล้วอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในกลอสเตอร์เชอร์, นอร์ธเวลส์ และเชสเชอร์